สารเร่งเนื้อแดง เสี่ยงสารก่อมะเร็ง
สำหรับประเทศไทยมีประกาศในกฎกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ “ห้ามใช้ สารเร่งเนื้อแดงในการเลี้ยงหมูอย่างเด็ดขาด” ผู้ใดลักลอบใช้ถือว่าผิดกฎหมายมีโทษหนักทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งเป็นไปตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2545 จนกระทั่งมีการปรับปรุงประกาศเมื่อ พ.ศ. 2559 เรื่องกำหนดวัตถุดิบที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์ รวมถึงประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2546
สารเร่งเนื้อแดง คือ ?
สารเร่งเนื้อแดง หรือ สารในกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์เป็นสารในกลุ่ม Catecholamine ซึ่งมีสูตรโครงสร้างคล้ายNoradrenaline สามารถออกฤทธิ์เป็นได้ทั้งสารสื่อประสาทและฮอร์โมนโดยจะจับกับตัวรับโดยเฉพาะบนผิวเซลล์(Beta receptor) สามารถแบ่งตัวรับบนผิวเซลล์เป็น 2 ชนิด คือ เบต้าวัน (ß1) และเบต้าทู (ß2) ตัวรับเบต้าวันจะพบที่หัวใจและระบบประสาท ส่วนตัวรับเบต้าทูจะพบที่หลอดเลือด ท่อทางเดินอาหาร เซลล์ไขมันและเซลล์กล้ามเนื้อสามารถดูดซึมได้ดีโดยทางการกิน เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะมีความเข้มข้นสูงสุดในเลือดภายในเวลา 2.5 ชั่วโมง โดยมี
ค่า Elimination half life ในเลือดที่ประมาณ 2.7-7 ชั่วโมง จากนั้นส่วนใหญ่จะถูก metabolite ที่ตับ และถูกกำจัดออกโดยทางไตเป็นหลัก โดยจะถูกกำจัดออกจากร่างกายได้ 72% ของปริมาณที่ได้รับภายในเวลา 24 ชั่วโมงทางปัสสาวะและมีค่า Elimination half life ในเลือดที่ประมาณ 4 ชั่วโมง (Douglas Pharmaceutical Ltd,1999)
ชนิดตัวอย่างและยากลุ่มสารเร่งเนื้อแดง
ในปัจจุบันมียาและสารเคมีที่จัดอยู่ในกลุ่มที่เป็นสารเร่งเนื้อแดงหลายตัว เช่น Salbutamol, Clenbuterol,Bromobuterol, Cimbuterol, Mapenterol, Mabuterol, Tolobuterol, Clenpenterol, Clenproperol,Terbutaline, Carbuterol, Cimaterol และ Ractopamine เป็นต้น
การออกฤทธิ์ของสารเร่งเนื้อแดง
พบว่าสารซัลบูตามอลมีผลทำให้สุกรกินอาหารลดลง ช่วยปรับปรุงอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักสุกร(สมโภชน์และคณะ, 2538 ; Hansen et al., 1997) และมีผลทำให้เปอร์เซ็นต์ไขมันรวมและกระดูกรวมในซากลดลงแต่มีเปอร์เซ็นต์เนื้อแดงในซากรวมเพิ่มขึ้น (สมโภชน์และคณะ, 2538 ; Warriss et al., 1990 ;Yen al., 1990)
ข้อเสียและอันตรายของการใช้สารเร่งเนื้อแดง
ก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อตัวสัตว์ทำให้สัตว์เกิดอาการหัวใจเต้นเร็วขึ้น ในสัตว์บางชนิดอาจพบการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ นอกจากนี้การสร้างความร้อนในตัวสัตว์ที่เพิ่มขึ้น มีผลทำให้สัตว์ทนต่อความร้อนได้ลดน้อยลงและอาจเกิดภาวะเครียดจากความร้อน (heat strees) ได้ (เรืองยุทธ , 2536) สำหรับในคนผลข้างเคียงคือ ทำให้กล้ามเนื้อโครงร่างสั่นกระตุก ขนลุก หัวใจเต้นเร็ว ปวดศีรษะ ถ้าหากได้รับในปริมาณสูงจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน (Renoidand Prasdel, 1982 อ้างโดยสมบูรณ์และคณะ, 2539) นอกจากนี้พบว่าการได้รับซัลบูตามอลในการรักษาโดยการ
กินในขนาดประมาณ 0.2-8.8 มิลลิกรัมของน้้ำหนักตัว ในผู้ป่วย 78 รายที่เป็นเด็กอายุ2-8 ปี พบว่าซัลบูตามอลที่กินเข้าไปทำให้เกิดความเป็นพิษได้ หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ มีน้ำตาลในโลหิตสูงกว่าปกติ เกิดอาการกระวนกระวายใจอาเจียนและค่าของโปแตสเซียมในกระแสเลือดมีระดับต่ำ(Wiley et al., 1994 อ้างโดยสมบูรณ์และคณะ, 2539) และมีรายงานในปี2533
ในประเทศสเปน ประชาชนจำนวน 135 คนที่บริโภคตับโคที่มีสารเคลนบูเตอรอลตกค้างอยู่เข้าไป เกิดอาการกล้ามเนื้อสั่นกระตุก หัวใจเต้นเร็ว และบางรายมีอาการเป็นลม นอกจากนี้ยังพบอาการทางจิต ประสาท อาการปวดหลัง หลังจากการบริโภคตับโคเข้าไปและอาการยังคงอยู่ต่อเนื่องเป็นเวลา 2-3 วัน (ยุพดีและคณะ, 2539)
ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้านการปศุสัตว์
1. พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525
และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 โดยประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง กำหนดชื่อ ประเภท ชนิดหรือลักษณะของอาหารสัตว์ที่ไม่อนุญาตให้นำเข้าเพื่อขาย และกำหนดชื่อ ประเภท ชนิด ลักษณะ คุณสมบัติ
