การทําความสะอาดคอกและโรงเรือนสุกร
การทําความสะอาดคอกและโรงเรือน
ของแต่ละฟาร์ม มักมีวิธีการและความถี่ที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้นคอก ชนิดของสุกรที่เลี้ยง รวมถึง ความเพียงพอของน้ําที่ใช้ทําความสะอาดและความสนใจของผู้เลี้ยงด้วย
โดยในการทําความสะอาดโรงเรือนสุกรขุน ซึ่งส่วนใหญ่พื้นคอกเป็นซีเมนต์ ในบางแห่งจะมีเฉพาะการเก็บกวาดมูลโดยไม่ล้างพื้นคอกเลยจนกว่าจะจับสุกรขาย บางแห่งจะเก็บมูลสุกรก่อนใช้น้ําล้าง ขณะที่ในบางแห่งไม่มีการเก็บมูลก่อนแต่ ใช้น้ําฉีดล้างเลย ซึ่งในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ใช้น้ําฉีดล้างทําความสะอาดทุกวัน และ ในคอกที่มีส้วมน้ําก็จะมีการปล่อยน้ําออกจากส้วมน้ําพร้อม การทําความสะอาด ด้วย
สําหรับการทําความสะอาดโรงเรือนอนุบาลและสุกรพ่อแม่พันธุ์ ซึ่งมัก
เป็นโรงเรือนแบบ 2 ชั้น โดยชั้นบนเป็นพื้นสแลต ผู้เลี้ยงจะทําการเก็บกวาดมูล สุกรก่อนใช้น้ําฉีดล้างและมักมีการทําความสะอาดทุกวัน ดังนั้น จะเห็นได้ว่าใน กิจกรรมทําความสะอาดคอกและโรงเรือนสุกร
จะมีการใช้น้ําในปริมาณมากและก่อให้เกิดน้ําเสียที่มีทั้งปริมาณและความสกปรกสูงแนวทางปฏิบัติสําหรับการทําความสะอาดคอกและโรงเรือนสุกร มีการวางผังคอกให้ถูกกับพฤติกรรมการขับถ่ายและการกินอาหารของสุกรโดยบริเวณที่จัดเป็นที่ขับถ่ายหรือสร้างส้วมน้ํา (ซึ่งควรเป็นท้ายดอกเพื่อให้ทําความสะอาดได้ง่าย) จะต้องเป็นที่สว่าง มีการเก็บมูลสุกรก่อนการฉีดล้างระบายอากาศที่ดีและชื้นแฉะ
สําหรับคอกสุกรขุน ควรทําให้พื้นคอก ส่วนที่ไม่ใช่บริเวณขับถ่ายแห้งอยู่ตลอดเวลา ส่วนคอกสุกรพันธุ์ ควรใช้พื้นคอกแบบสแลตและด้านล่างมีการระบาย
อากาศที่ดีเก็บกวาดและรวบรวมมูลสุกรและเศษอาหารที่หกหล่นออกจากคอกอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อป้องกันการสะสมของมูลสุกรในคอกซึ่งสุกรจะเหยียบย่ําจน
ยากต่อการเก็บกวาดโดยวิธีแห้งก่อนฉีดล้างคอก ควรฉีดพรมหรือสเปรย์น้ําให้ทั่วพื้นคอกซึ่งจะทําให้การฉีดล้าง ทําได้ง่ายขึ้นและใช้น้ําน้อยลง ล้างคอกและโรงเรือนสุกรอย่างน้อยทุก 2 วัน และหลีกเลี่ยงการล้างคอกในช่วงเช้า มืดเนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ทําให้กลิ่น เหม็นแพร่กระจายได้ดี
• ติดอุปกรณ์ลดขนาดปลายสายยางที่ใช้ ฉีดล้างคอกเพื่อเพิ่มความเร็วของน้ําที่ใช้ฉีดล้าง ซึ่งช่วยลดระยะเวลาการล้างและ ลดปริมาณการใช้น้ํากรณีมีส้วมน้ําต้องเปลี่ยนถ่ายน้ําทุกวันหรือทุกสองวัน พร้อมกับทําความสะอาดส้วมน้ําด้วยทุกครั้ง
เติมน้ําเพียงครึ่งหนึ่งของความลึกของส้วมน้ํา เนื่องจากหากเติมน้ํามากเกินไปเมื่อสุกรเข้าไปนอนแช่จะทําให้น้ําล้น ออกมาทําให้พื้นคอกแฉะ และเป็นการสิ้นเปลืองใช้น้ําจุลินทรีย์ (อีเอ็ม) ใส่ลงในส้วมน้ํา เพื่อช่วยในการลดกลิ่นเหม็น
• ทําความสะอาดรางระบายน้ํารอบโรงเรือน โดยการเก็บกวาดมูลสุกรที่ตกค้างในราง ระบายน้ําอย่างน้อยวันละครั้งหลังจากหมั่นตรวจสอบการรั่วไหลของน้ําตามการล้างคอกสุกรแล้วข้อต่อและท่อ พร้อมทั้งซ่อมบํารุงอุปกรณ์อยู่เสมอ
การจัดการมูลสุกร
มูลสุกรที่เกิดจากการขับถ่ายของสุกรจะแปรผันไปตามอายุ เพศ และ ขนาดของสุกร ชนิดและปริมาณอาหารที่สุกรกิน ปริมาณน้ําที่สุกรได้รับ
โดย สุกรที่มีน้ําหนักประมาณ 15-30 กิโลกรัม จะมีสิ่งขับถ่ายประมาณ 1-2 กิโลกรัม/ ตัว/วัน สุกรขุนน้ําหนักตัวประมาณ 70-90 กิโลกรัมจะมีสิ่งขับถ่ายประมาณ 4.6-5.4 กิโลกรัม/ตัว/วัน ขณะที่แม่สุกรเลี้ยงลูกน้ําหนักตัว 170 กิโลกรัม จะมี ปริมาณสิ่งขับถ่ายถึง 14 กิโลกรัม/ตัว/วัน ดังนั้น
ในแต่ละวันฟาร์มสุกรจะมี ของเสียจากสิ่งขับถ่ายของสุกรในปริมาณมาก หากมีการจัดการที่ไม่เหมาะสม จะเป็นสาเหตุของแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลง และก่อให้เกิดปัญหากลิ่นเหม็น เป็นที่รําคาญต่อผู้อาศัยใกล้เคียง ซึ่งฟาร์มส่วนใหญ่จะมีการจัดการโดยรวบรวม
มูลสุกรไว้ในที่เฉพาะเพื่อง่ายต่อการจัดการและขนถ่ายไปทําประโยชน์ต่อไป เช่น ใช้เป็นอาหารปลา ตากแห้ง หรือทําปุ๋ยคอก หรือนําไปผลิตก๊าซชีวภาพ
แนวทางปฏิบัติสําหรับการจัดการมูลสุกร การจัดการลานตากและโรงเก็บมูลสุกร
• ปรับปรุงพื้นของลานตากให้มีสภาพ การระบายน้ําที่ดี และใช้วัสดุรองพื้น เช่น ทราย ขี้เลื่อย หรือตากบนพื้นซีเมนต์ ลาดชันที่มีรางระบายน้ําเสียสําหรับรวบรวมไปบําาบัด
• ลานตากมูลสุกรควรมีหลังคาหรือใช้ผ้าพลาสติกปิดคลุมลานตาก เพื่อป้องกันฝนและน้ําค้างในช่วงที่ฝนตกและเวลากลางคืน

มูลสุกรแห้ง
เก็บถุงที่บรรจุมูลแห้งในโรงเก็บที่มีหลังคาคลุมและพื้นโรงเก็บเป็นคอนกรีตยกสูงจากพื้นดินไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร
การนํามูลสุกรไปใช้ประโยชน์
• หาแนวทางนํามูลสุกรไปใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด เช่น – นํามูลสดไปใช้เป็นอาหารปลา
– นํามูลสุกรสดมาตากแห้ง ทําปุ๋ยอินทรีย์
– นํามูลสุกรไปใช้ในการผลิตก๊าซชีวภาพ
การรวบรวมและบําบัดน้ําเสีย
น้ําเสียที่เกิดขึ้นจากฟาร์มสุกรส่วนใหญ่เป็นน้ําจากการล้างทําความสะอาด คอกสุกร ซึ่งจะมีมูลสุกรปนเปื้อนอยู่ในปริมาณมากโดยเฉพาะหากผู้เลี้ยงไม่เก็บ
รวบรวมมูลสุกรก่อนใช้น้ําฉีดล้าง และเมื่อน้ําเสียนี้ไหลลงสู่ระบบบําบัดน้ําเสีย
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นระบบบําบัดแบบบ่อเปิดตั้งแต่ 2 บ่อขึ้นไป โดยกรณีที่มี บ่อบําบัดน้ําเสียเพียง 2 บ่อ ฟาร์มส่วนใหญ่ก็ยังไม่สามารถลดความสกปรก ในน้ําเสียให้อยู่ในระดับที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ และถึงแม้ว่าจะมีบ่อบําบัดหลายบ่อ แต่ลักษณะของบ่อก็อาจไม่สามารถบําบัดน้ําเสียได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ เช่น ขนาดบ่อเล็กเกินไปทําให้ระยะเวลากักเก็บน้ําน้อย กลาย
สภาพเป็นบ่อหมักทุกบ่อ และประสิทธิภาพการกําจัดความสกปรกในน้ําเสีย ต่ํากว่าที่ควรจะเป็น ทําให้น้ําทิ้งที่ผ่านการบําบัดแล้วยังมีค่าไม่ผ่านตามเกณฑ์ มาตรฐานน้ําทิ้งฟาร์มสุกรที่กําหนด
ซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดจากการใช้เทคโนโลยี การบําบัดไม่เหมาะสมกับลักษณะสมบัติของน้ําเสีย และการขาดการดูแล รักษาระบบบําบัดน้ําเสียหรือการเดินระบบบําบัดที่ไม่ถูกต้อง
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับระบบรวบรวมน้ําเสีย ระบบรวบรวมน้ําเสีย
• รางระบายน้ําเสียต้องมีความลาดชันของ ท้องรางไม่น้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ เพื่อ การระบายน้ําที่ดี
• หากเป็นรางระบายแบบเปิดจะต้องอยู่ใต้ หลังคาโรงเรือน เพื่อป้องกันการปนเปื้อน ของน้ําฝนกับน้ําเสีย แยกรางระบายน้ําฝนออกจากรางระบาย น้ําเสีย เพื่อลดปริมาณน้ําเสียที่ต้องบําบัด
หมั่นทําความสะอาดและเก็บมูลสุกรที่ ตกค้างตามรางระบายน้ําออกเป็นประจํา เพื่อให้น้ําเสียระบายได้สะดวก ระบบบําบัดน้ําเสียเก็บกวาดมูลและตะกอนตกค้างในร่าง ระบายเปิดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และ ควรล้างรางระบายน้ําเสียหลังจากล้าง
คอกสุกรทุกครั้ง
• น้ําเสียจากการล้างคอกสามารถนําไปใช้
ประโยชน์ในรูปของปุ๋ยน้ําได้จัดให้มีระบบบําบัดน้ําเสียที่สามารถ บําบัดน้ําเสีย ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน น้ําทิ้งฟาร์มสุกรที่กําหนด จัดให้มีบ่อดักมูลสุกรในบ่อแรกก่อนเข้าสู่ ระบบบําบัดน้ําเสียเพื่อลดปริมาณมูลสุกร
สะสมในบ่อบําาบัดและลดความสกปรกของน้ําเสียก่อนเข้าสู่ระบบบําบัด (ยกเว้นกรณีที่ใช้ระบบก๊าซชีวภาพ (Biogas) ที่ต้องการน้ําเสียที่มีปริมาณบีโอดีสูงๆ เพื่อ
ผลิตก๊าซให้ได้ปริมาณมาก)ปลายท่อรวบรวมน้ําเสียจะต้องอยู่ใต้ ผิวน้ําในบ่อบําบัดเพื่อป้องกันการกระจาย ของกลิ่น รวมทั้งกระจายน้ําเสียให้ลงทั่วทั้งบ่อหากบ่อมีขนาดใหญ่มาก
ขุดลอกตะกอนเมื่อมีการสะสมของตะกอนสูงกว่าหนึ่งในสามของความลึกของบ่อ เติมปูนขาวลงในบ่อบําบัดเมื่อค่าพีเอชต่ํากว่า 7 และเริ่มมีกลิ่นเหม็นรุนแรง กรณีระบบบําบัดแบบบ่อโดมคงที่ (Fixed Dome) หรือแบบพลาสติก คลุมบ่อ (Covered Lagoon) หรือแบบบ่อหมักรางและบ่อยูเอเอสบี หรือแบบบ่อเกรอะ-บ่อกรองไร้อากาศ จะต้องนําตะกอนออกจาก บ่อหมักอย่างสม่ําเสมอ
ขอบคุณข้อมูล : กรมควบคุมมลพิษ