Menu Close

การจัดการของเสีย ภายในฟาร์ม

การจัดการของเสียภายในฟาร์ม_0

การจัดการของเสีย ภายในฟาร์ม

การจัดการของเสีย ภายในฟาร์ม

มูลไก่และการกำจัด

     ถ้าเป็นฟาร์มขนาดเล็กเลี้ยงไก่ไม่มากนักการจัดการมูลสามารถทำได้ง่าย แต่ถ้าเป็นฟาร์มขนาดใหญ่ เลี้ยงไก่จำนวนมากอาจจะหลายหมื่นถึงหลายแสนตัวการกำจัดมูลก็จะเป็นปัญหามาก มูลไก่ที่ขับถ่ายออกมาไม่ว่าจะคิดเป็นน้ำหนักหรือคิดเป็นปริมาตรจะมีความผันแปรอย่างมากตั้งแต่ประมาณ 35% จนถึง 145% ของ ปริมาณอาหารที่กินเข้าไปขึ้นกับว่าวัดเป็นน้ำหนักหรือวัดปริมาตร ถ้าชั่งน้ำหนักทันทีหลังจากที่ไก่ขับถ่ายมูล ออกมาก็จะได้น้ำหนักที่มากกว่า

 

      เนื่องจากมูลยังมีความชื้นสูง ซึ่ง Ota and McNally (1961 ; อ้างตาม Bell and Weaver, 2002) รายงานไว้ว่าไก่พันธุ์ไวท์เล็กฮอร์นจะขับถ่ายมูลออกมาประมาณ 140-195 กรัม/วัน (น้ำหนักมูลสด) ซึ่งจะมีน้ำหนักประมาณ 1.45 เท่าน้ำหนักอาหารที่กินเข้าไป ส่วน Bell (1971 ; อ้างตาม Bell and Weaver, 2002) ได้ทำการเก็บข้อมูลในไก่ไข่ที่เลี้ยงในสหรัฐอเมริกา พบว่า ไก่ไข่จะขับถ่ายมูล ออกมาเฉลี่ย 122 กรัม/ตัว/วัน ซึ่งมีปริมาณเกือบเท่ากับปริมาณอาหารที่กินเข้าไปในแต่ละวัน และ Larenz (1986 ; อ้างตาม Bell and Weaver, 2002) พบว่า ไก่จะขับถ่ายมูลออกมาประมาณ 35% ของประมาณ อาหารที่กินเข้าไป (มูลมีความชื้น 59%)

Smartlink

      วัสดุรองพื้น (Litter) ในบทนี้จะหมายถึง มูลและวัสดุรองพื้นปนกัน Paterson et al. (1998 ; อ้าง ตาม Bell and Weaver, 2002) รายงานว่า ไก่กระทงที่เลี้ยงจนถึงอายุ 44 วัน และ 57 วัน จะเพิ่มน้ำหนัก ของวัสดุรองพื้นขึ้นประมาณ 22 และ 26 กิโลกรัม/วัน/ไก่ 1,000 ตัว ตามลำดับ และถ้าคำนวณเป็นน้ำหนัก แห้งจะได้ประมาณ 0.73 และ 1.23 ตัน/ไก่ 1,000 ตัว เมื่อเลี้ยงจนถึงอายุ 44 และ 57 วัน ตามลำดับ

 

       ปัญหาเกี่ยวกับการกำจัดมูลไก่จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ ขึ้นกับสภาพแวดล้อมลักษณะของ ภูมิอากาศ ลักษณะทางภูมิประเทศและการนำมูลไก่ไปใช้ประโยชน์ เช่น การนำไปเป็นปุ๋ยสำหรับพืชไร่ ฯลฯ

 

การจัดการเพื่อนำมูลไก่เป็นปุ๋ยสำหรับพืช

    ข้อมูลปริมาณมูลที่ผลิตได้จากไก่ในตารางที่ 3.1 นั้น อยู่บนพื้นฐานของการขับถ่ายมูลประมาณ 102 กรัม/วัน/ตัวในไก่ไข่พันธุ์ไวท์เล็กฮอร์น และ 116 กรัม/ตัว/วันในไก่ไข่เปลือกสีน้ำตาล ปริมาณมูลที่สะสมอยู่ใต้ กรงไก่หรือภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่นั้นขึ้นกับวิธีการทำให้มูลแห้ง ซึ่งน้ำหนักและปริมาตรของมูลจะลดลงเรื่อย ๆ

 

    ตามระยะเวลาที่เก็บ เนื่องจากการระเหยน้ำและการย่อยสลาย จากการประมาณการ ไก่ไข่ 1 ตัวจะผลิตมูล ออกมาประมาณ 1.8 ลูกบาศก์ฟุต/ตัว/ปี ในระหว่างนั้นถ้ามีการทำให้แห้งโดยธรรมชาติและมีการย่อยสลาย โดยจุลินทรีย์บ้างก็จะลดปริมาตรลงเหลือประมาณ 1 ลูกบาศก์ฟุต/ตัว/ปี

 Smartlink

ตารางที่ 3.1 ค่าประมาณการปริมาณมูลที่เกิดจากการเลี้ยงไก่ไข่ ไก่ไข่รุ่นทดแทนและไก่กระทง (มูลสด ประมาณการจากปริมาณอาหารที่กิน) 
สัตว์ (10,000 ตัว) มูลสด (ตัน/วัน) มูลสด (ตัว/ปี)* มูลแห้ง (ตัน/ปี)** ไก่ไข่ (Layers)
– เปลือกไข่สีขาว 1.13 410.6 136.7
– เปลือกไข่สีน้ำตาล 1.28 465.4 155.1 ไก่ไข่รุ่นทดแทน (Replacement pullet, 0-20 สัปดาห์)
– เปลือกไข่สีขาว 0.54 179.4 59.8
– เปลือกไข่สีน้ำตาล 0.61 200.6 66.9 ไก่กระทง (Broilers)
– 0-42 วัน 0.87 237.2 79.1
– 0-49 วัน 1.01 287.0 95.6
– 0-56 วัน 1.14 332.8 110.9

 

หมายเหตุ
* มีระยะพักเล้าประมาณ 2 สัปดาห์/ฝูง (ไม่มีวัสดุรองพื้น)
** มูลแห้ง มีความชื้นประมาณ 25-35%
ที่มา : Bell and Weaver (2002)

 

Smartlink

ความจำเป็นในการทำให้มูลแห้ง

ความชื้นในมูลจะก่อให้เกิดปัญหาหลายประการ ได้แก่
1.เป็นอาหารและแหล่งวางไข่สำหรับแมลงวัน
2.ค่าขนส่งในการน ามูลไปจากฟาร์มจะสูงขึ้น เนื่องจากถ้ามีความชื้นสูงจะมีน้ำหนักมากขึ้น (น้ำหนัก/ ปริมาตร)
3.ปริมาณธาตุอาหารต่อหน่วยน้ำหนักลดลง (กรณีที่นำไปทำเป็นปุ๋ยสำหรับพืช)
4.ส่งกลิ่นเหม็นรุนแรง

 

มูลสดที่เพิ่งขับถ่ายออกมาจากไก่ไข่จะมีความชื้นประมาณ 70-80% อย่างไรก็ตาม ค่าความชื้นนี้จะ ผันแปรได้เนื่องจากอาจจะมีความชื้นมาจากแหล่งอื่นเพิ่มเข้ามาเช่น จากอุปกรณ์ให้น้ำและพฤติกรรมส่วนตัว ของไก่ขณะกินน้ำ ฯลฯ การจัดการมูลที่แนะนำคือจะต้องให้ความชื้นในมูลไม่เกิน 30% เพื่อไม่ให้เป็นอาหาร และแหล่งวางไข่ของแมลงวัน ซึ่งสามารถทำได้โดยการเลี้ยงไก่ในอัตราความหนาแน่นที่เหมาะสม ติดตั้งพัดลม ให้มีลมพัดผ่านมูลโดยตรงและมีการกลับกองมูลบ่อยขึ้น เป็นต้น

 

     จากข้อมูล ไก่จำนวน 1,000 ตัวจะขับถ่ายมูลสดออกมาจำนวน 420 ตัน/ปี เมื่อทำให้ แห้ง (มีความชื้นประมาณ 25-30%) จะเหลือน้ำหนักมูลเพียง 137 ตันเท่านั้นที่จะต้องขนส่งออกไปจากฟาร์ม จะเห็นได้ว่า ถ้าเราทำมูลให้แห้งแล้วจะสามารถลดปริมาณมูลลงได้จนเหลือเพียง 1 ใน 3 ของน้ำหนักเริ่มต้น หรือเราจะสามารถลดจำนวนรถบรรทุกลงได้จาก 20 คันเหลือเพียง 7 คันเท่านั้น จึงทำให้ประหยัดค่าขนส่งลง ได้

Smartlink

      มีการนำมูลไก่มาใช้เป็นปุ๋ยสำหรับพืชมานานแล้ว ซึ่งมูลไก่เป็นแหล่งที่ดีของอินทรียวัตถุและธาตุ อาหารสำหรับพืช อย่างไรก็ตาม ปัญหาของการใช้มูลไก่ ได้แก่ ปริมาณธาตุอาหารในมูลไก่แต่ละฝูง แต่ละ โรงเรือนไม่คงที่ จึงเป็นการยากที่เกษตรกรจะใช้ในพืชแล้วพืชจะได้รับธาตุอาหารที่ถูกต้องแม่นยำตามที่ ต้องการ ปริมาณธาตุอาหารในมูลหรือในวัสดุรองพื้นจะผันแปรไปได้เนื่องจากชนิดของไก่ สูตรอาหารที่ให้ไก่กิน
วิธีการเลี้ยงดูแลและจัดการมูล เป็นต้น

 

      เหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกิดความผันแปรของปริมาณธาตุอาหารในมูล ได้แก่ ความชื้นที่ต่างกัน มูลสด อาจจะมีน้ำหรือความชื้นมากกว่า 70% เมื่อมูลนั้นแห้งลงไม่เฉพาะแต่ความเข้มข้นของธาตุอาหารต่อหน่วย น้ำหนักเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงแต่ความเข้มข้นต่อหน่วยปริมาตรก็เปลี่ยนแปลงด้วย เนื่องจากมีการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของมูลด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับมูลสด มูลแห้งที่มีความชื้นประมาณ 30% จะมีปริมาตร ลดลงประมาณ 50% จากปริมาตรมูลสด
การท าให้มูลไก่แห้ง มี 2 วิธีใหญ่ ๆ ได้แก่

Smartlink
 
 

1. การทำแห้งโดยใช้อุปกรณ์ช่วย บางฟาร์มใช้อุปกรณ์ช่วยในการทำแห้งเพื่อให้ได้มูลไก่ไปทำเป็นปุ๋ย ที่มีคุณภาพดี สามารถลดปริมาตรและน้ำหนักมูลลงและสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการย่อยสลายโดยแบคทีเรีย อันจะทำให้เกิดกลิ่นเหม็นได้ เครื่องทำแห้ง (Dryer) ที่มีจำหน่ายในปัจจุบันจะใช้อุณหภูมิตั้งแต่ 371-982 °ซ (700-1,800 °ซ) ระยะเวลาในการทำแห้งจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่ใช้ ปริมาณความชื้นในมูล อัตราการไหลผ่านของมูลและความชื้นสุดท้ายของมูลที่เราต้องการ เครื่องทำแห้งทั่วไปสามารถลดความชื้นในมูลจาก 70% ให้ เหลือเพียง 10% ได้ภายในเวลาเพียง 10 นาที

 

2. การทำแห้งโดยธรรมชาติ โดยการใช้แสงแดดช่วย นิยมใช้ในพื้นที่ที่มีฝนตกน้อย การเลี้ยงไก่ไข่ขัง กรงและมีการเก็บกวาดมูลทุกวัน นำมูลมาเกลี่ยบนพื้นที่มีลดพัดผ่านได้ดี ซึ่งถ้ามีแดดและลมพัดดีจะสามารถ ลดความชื้นในมูลจาก 75% ให้ลงเหลือเพียง 20% ภายในเวลา 2 วันเท่านั้น ถ้าทำให้แห้งเร็วปริมาณธาตุ ไนโตรเจนที่มีอยู่ในมูลก็จะยังคงเหลือมาก กรงไก่ไข่ที่ใช้ในปัจจุบัน บางรุ่นจะมีสายพานลำเลียงมูลวางอยู่ใต้พื้น กรงและจะมีพัดลมเป่าด้วยเพื่อช่วยให้มูลแห้งเร็วขึ้น

 

Smartfarm

การใช้ประโยชน์จากมูลไก่

การทำปุ๋ยหมักจากมูลไก่ (Composting manure)


       การย่อยสลายที่เกิดขึ้นโดยจุลินทรีย์ที่ใช้อากาศเป็นกระบวนการตามธรรมชาติ ทำให้เกิดก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำและความร้อน หลังจากการย่อยสลายที่สมบูรณ์แล้วจะได้วัตถุที่มีลักษณะคล้ายดิน มี ฮิวมัส (Humus) เป็นส่วนประกอบสูง ในระหว่างที่กระบวนการย่อยสลายดำเนินอยู่นั้นจะเกิดการย่อยสลาย ไนโตรเจนเป็นก๊าซแอมโนเนียระเหยขึ้นไปในชั้นบรรยากาศ ดังนั้น ภายหลังจากการย่อยสลายที่สมบูรณ์แล้ว ปริมาณธาตุไนโตรเจนในมูลก็จะลดลงและมักจะเกิดปัญหาเกี่ยวกับกลิ่นแอมโมเนียในระหว่างกระบวนการย่อย สลาย ปุ๋ยหมักสามารถทำจากมูลไก่ที่เลี้ยงแบบขังกรงหรือเลี้ยงบนวัสดุรอง ของเสียจากโรงฟัก เปลือกไข่และ ซากไก่ตาย ซึ่งสามารถที่จะเปลี่ยนจากของเสียไปเป็นผลพลอยได้มีสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้

 

.

ขั้นตอนการทำปุ๋ยหมักประกอบด้วย

1.ผสมเศษเหลือหรือของเสียจากฟาร์มด้วยวัสดุที่มีคาร์บอน (ฟางข้าว ซังข้าวโพด ฯลฯ) ให้เข้ากันใน อัตราส่วนของแหล่งคาร์บอน : ไนโตรเจน เท่ากับ 20-25 : 1 ดังนั้น มูลสัตว์อย่างเดียวก็อาจจะทำเป็นปุ๋ยหมัก ได้ถ้าหากมีอัตราส่วนของคาร์บอน : ไนโตเจน เหมาะสม
2.เติมอากาศเข้าไป
3.ราดน้ำเพื่อเพิ่มความชื้นให้ได้ประมาณ 35-50%
4.ตรวจสอบอุณหภูมิภายในกองหมัก ในช่วงแรกอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นสูงมาก เนื่องจากเกิดกระบวนการ ย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ซึ่งจะใช้เวลาหลายสัปดาห์ ถ้ากระบวนการย่อยสลายสมบูรณ์แล้วอุณหภูมิภายในกอง ปุ๋ยหมักจะคงที่ไม่เพิ่มอุณหภูมิขึ้นทั้งในขณะเก็บรักษาและขณะใช้งาน

 

ธาตุอาหารในมูลไก่

ปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในมูลไก่จะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่
1. ส่วนประกอบทางโภชนะของอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่
2. อายุและประเภทของไก่
3. วิธีการเก็บและการจัดการมูล
4. สภาพแวดล้อมทั่วไปภายในโรงเรือน เช่น อุณหภูมิ ความชื้น อุปกรณ์ให้น้ำ ซึ่งจะส่งผลต่อความชื้น ในมูล

 

      คุณภาพของมูลไก่ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับปริมาณความชื้น ยิ่งทำให้มูลแห้งเร็วเท่าไรปริมาณธาตุอาหาร ก็จะยังคงมีอยู่สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งธาตุไนโตรเจนซึ่งจะระเหยไปในรูปของก๊าชแอมโนเนียได้ง่ายถ้ามีความชื้น และมีการทำงานของจุลินทรีย์ เมื่อคำนวณปริมาณธาตุอาหารในมูลพบว่าจะมีสัดส่วนจะผกผันกับปริมาณ ความชื้น ดังแสดงในตารางที่ 3.2 ตัวอย่าง มูลแห้งที่มีความชื้นต่ำกว่า 35% จะมีธาตุไนโตรเจนอยู่ประมาณ 60 กิโลกรัม/ตัน ในขณะที่เมื่อมูลมีความชื้น 35-55% จะมีไนโตรเจนประมาณ 20 กิโลกรัม/ตัน และถ้ามูล เปียกมีความชื้นมากกว่า 55% ก็จะมีปริมาณธาตุไนโตรเจนอยู่เพียง 12 กิโลกรัม/ตัน เท่านั้น ดังนั้นถ้า เกษตรกรต้องการจะให้ธาตุไนโตรเจนแก่พืชที่กำลังเพาะปลูกจำนวน 30 กิโลกรมในพื้นที่ จะต้องใช้มูลไก่เปียก ประมาณ 2.4 ตัน แต่ถ้าใช้มูลแห้งก็จะใช้เพียง 1 ตัน เท่านั้น

 

ค่าการวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารพืชในมูลไก่ไข่ในกรงที่มีความชื้นต่างกัน ความชื้น (%) ไนโตรเจน (%)ฟอสฟอรัส * โปแตสเซียม * เกลือทั้งหมด P (%) P (%) 2O5(%) K (%) K2O (%) มูลสด (75%) 1.13 0.74 1.70 0.63 0.76 3.86 มูลชื้น (35%) 2.36 1.31 3.01 0.98 1.18 4.94 มูลแห้ง (10%) 3.84 2.01 4.62 1.42 1.70 6.18 * P2O5 = P x 2.3 ; K2O = K x 12
ที่มา : Bell (1971 ; อ้างตามใน Bell and Weaver (2002)

 

Smartlink

การใช้มูลไก่เป็นอาหารสัตว์

      มูลไก่นอกจากจะนำไปใช้เป็นปุ๋ยสำหรับให้ธาตุอาหารแก่พืชแล้ว ยังมีการนำมูลไก่ไปเป็นอาหารสัตว์ เคี้ยวเอื้องด้วย เนื่องจากในมูลไก่จะยังคงเหลือส่วนประกอบของวัตถุดิบบางชนิดที่ยังย่อยและดูดซึมไม่หมด
เช่น สารประกอบกลุ่มไนโตเจนที่ไม่ใช่โปรตีน (Non-protein nitrogen) ดังนั้น จึงสามารถนำมูลไก่กลับมาใช้ เป็นอาหารสัตว์ได้โดยสามารถใช้เป็นอาหารในโคที่ไม่ให้น้ำนมได้ แต่ใช้ในกลุ่มสัตว์กระเพาะเดี่ยวจะไม่ดี เนื่องจากมีโปรตีนแท้เหลืออยู่ค่อนข้างต่ำและมีปริมาณเถ้าสูงจึงไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ 

 

    เนื่องจากการ เจริญเติบโตจะลดลงและจำเป็นจะต้องเสริมอาหารโปรตีนคุณภาพสูง อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะนำมูลไก่ไปใช้ จะต้องมีการตรวจสอบก่อนว่าไม่มีสิ่งแปลกปลอมที่จะเป็นอันตรายต่อสัตว์ปะปนมาด้วย ดังนั้น การจะนำมูลไก่ มาใช้เป็นอาหารสัตว์นั้นจะต้องมีการวางแผนและการจัดการที่ดีเพื่อให้ได้มูลไก่ที่มีปริมาณโภชนะสูงและไม่มี การปนเปื้อนสิ่งแปลกปลอมและสารเคมีตกค้างทั้งยาฆ่าแมลง ยาปฏิชีวนะและยากำจัดวัชพืช เศษโลหะ เศษ หิน หรือเศษแก้ว ฯลฯ

 

ตารางที่ 3.3 ส่วนประกอบทางเคมี/โภชนะในมูลไก่

โภชนะ เปอร์เซ็นต์
ความชื้น 7.4
โปรตีน 23.8
โปรตีนแท้ 10.8
ไขมันรวม 2.1
แป้ง 39.6
เยื่อใย 13.7
เถ้า 26.9
แคลเซียม 7.8

ที่มา : Bell and Weaver (2002)

 

ปัญหาที่มักพบบ่อยเกี่ยวกับมูล

มูลเปียก (Wet dropping) ปัญหามูลเปียกเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ได้แก่
1. ถ้าอาหารมีโปรตีนและเกลือสูงก็จะทำให้ไก่ขับถ่ายมูลออกมาเหลวกว่า
2. สายพันธุ์ไก่ พบว่า ไก่ไข่ที่ให้ไข่ดกจะขับถ่ายมูลเหลวกว่าไก่ที่ไข่ไม่ดก
3. อุณหภูมิสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรือน ถ้าอุณหภูมิสูงจะทำให้ไก่กินน้ำมากขึ้นเพื่อช่วย ระบายความร้อนออกจากร่างกายยิ่งส่งผลให้ขับถ่ายมูลออกมาเหลวด้วย
4. น้ำรั่วจากอุปกรณ์ให้น้ำเป็นการเพิ่มความชื้นเข้าไปโดยตรง การตรวจสอบการรั่วของน้ำนั้นทำได้ยาก กว่าที่ผู้เลี้ยงจะทราบก็อาจจะสายเกินไป จึงจำเป็นต้องใช้มิเตอร์วัดปริมาตรน้ำที่ใช้ในแต่ละวันถ้า พบความผิดปกติของการใช้น้ำให้รีบตรวจสอบทันทีปัจจุบันยังมีการพัฒนาเซ็นเซอร์ติดตั้งอุปกรณ์ให้น้ำถ้ามี ปริมาณการใช้น้ำมากกว่าค่ามารฐานกำหนดไว้ก็จะมีการเตือนให้ผู้เลี้ยงไปตรวจสอบความผิดปกติ

 

Smartlink

กลิ่น (Odor) มูลไก่มีธาตุไนโตรเจนอยู่สูง

     ดังนั้น ถ้ามูลไก่มีความชื้นก็จะทำให้จุลินทรีย์ทำปฏิกิริยาได้ง่ายขึ้นจึงปลดปล่อยก๊าซแอมโมเนียออกมา ซึ่งก๊าซแอมโนเมียนี้นอกจากจะส่งกลิ่นเหม็นรบกวนแล้วยังมีฤทธิ์ กัดกร่อนวัสดุพวกโลหะอีกด้วย

 

การกำจัดซากไก่ตาย

     ในระหว่างการเลี้ยงไก่มักจะมีการตายเกิดขึ้นเกือบทุกวันซึ่งการตายของไก่จะแบ่งออกเป็น การตาย ปกติที่ไม่เกิดจากโรค การตายจากอุบัติเหตุและการตายจากการเกิดโรคหรือไก่คัดทิ้ง เป็นต้น หลักการจัดการไก่ซากตายมีขั้นตอนดังนี้

 

1. ต้องเก็บไก่ตายและนำออกจากกรงหรือโรงเรือนทุกวัน
2. ต้องเก็บไก่ตายไว้ในภาชนะที่ปิดมิดชิดเพื่อป้องกันมิให้สัมผัสกับสัตว์พาหะ เช่น แมลงวัน แมลงปีก แข็ง สุนัข แมวและนกป่า เป็นต้น
3. ต้องนำซากไปเก็บหรือนำไปกำจัดในพื้นที่ที่แยกออกต่างหากซึ่งอยู่ห่างจากพื้นที่เลี้ยงไก่พอสมควร
4. หลังจากเก็บซากไก่ตายไปใส่ภาชนะหรือนำออกไปจากโรงเรือนแล้ว ผู้ปฏิบัติงานจะต้องล้างมือ ล้างอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สัมผัสกับไก่ให้สะอาดและฆ่าเชื้อ สำหรับพนักงานให้เปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่เป็นชุดที่สะอาด ก่อนเริ่มปฏิบัติงานใหม่
5. บุคคลที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับซากไก่ตายหรือพาหนะที่บรรทุกไก่ตายออกไปทิ้งหรือกำจัดจะไม่ อนุญาตให้กลับเข้ามาในพื้นที่เลี้ยงไก่อีกเด็ดขาด ยกเว้น จะต้องผ่านกระบวนการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ แล้วเท่านั้น

Smartlink

     ระบบการกำจัดซากไก่ตายจะต้องทำไว้ให้สามารถกำจัดซากไก่ได้เพียงพอ อย่างน้อยที่สุดก็ในกรณีที่มี การตายอยู่ในระดับปกติและจะต้องเผื่อไว้อีกเล็กน้อยกรณีที่มีอัตราการตายเพิ่มขึ้นซึ่งสามารถใช้ค่าในตารางที่ 3.4 เป็นพื้นฐานในการคำนวณได้
ตารางที่ 3.4 ปริมาณซากไก่ตายที่อัตราการตายแตกต่างกัน (กิโลกรัม) (เปอร์เซ็นต์ไก่ตาย x น้ำหนักตัวเฉลี่ย x 1,000 ตัว)
ต่อ 10,000 ตัว อัตราการตาย (%)
0.10%/สัปดาห์ 0.25%/สัปดาห์ 0.50%/สัปดาห์

 

ไก่ไข่ (Layers)

– เปลือกไข่สีขาว (1.8 กก.) 2.6 6.5 13.0
– เปลือกไข่สีน้ำตาล (2.3 กก.) 3.2 8.1 16.2 ไก่ไข่รุ่นทดแทน (Replacement pullets)
– เปลือกไข่สีขาว (1.4 กก.) 2.0 4.9 9.7
– เปลือกไข่สีน้ำตาล (1.6 กก.) 2.3 5.7 11.4 ไก่กระทง (Broilers)
– น้ำหนัก 2.3 กก. 3.2 8.1 16.2
– น้ำหนัก 2.7 กก. 3.9 9.8 19.5 ที่มา : Bell and Weaver (2002)

 

วิธีการกำจัดซากไก่ตาย

      การกำจัดซากไก่ตายมีหลายวิธีแต่ละวิธีมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ดังแสดงในตารางที่ 3.5 วิธีการ กำจัดซากแต่ละวิธี มีการดำเนินการดังนี้

 

Smartlink

1. การฝัง (Burial) 

       เป็นวิธีดั้งเดิมที่นิยมใช้กันในอดีตและปัจจุบันยังใช้กันอยู่ในฟาร์มเลี้ยงไก่ขนาด เล็ก แต่ในกรณีที่เป็นฟาร์มขนาดใหญ่การกำจัดซากแบบนี้จะไม่เหมาะสมซึ่งอาจจะมีคำถามว่าซากไก่ที่ฝังนั้น อาจจะทำให้น้ำใต้ดินปนเปื้อนได้ เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนและก่อให้เกิดแมลงที่สร้างความรำคาญ การฝังจะต้อง ฝังในระดับลึกพอสมควร เช่น ควรขุดหลุมให้มีขนาดความกว้างประมาณ 76-120 เซนติเมตร และลึกประมาณ
9-12 เมตร หลุมฝังซากจะต้องอยู่ห่างจากแหล่งน้ำและจะต้องขุดไม่ให้ถึงระดับน้ำใต้ดินเพื่อป้องกันการ ปนเปื้อนไปกับน้ำใต้ดิน

2. การทิ้งในบ่อทิ้งซาก (Disposal pits) 

     บ่อทิ้งซากเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการฝังหลุม บ่อทิ้งซาก ปกติมักจะทำให้มีความลึกประมาณ 3 เมตรและมีฝาปิดซึ่งอาจจะทำด้วยไม้หรือทำด้วยคอนกรีตเพื่อป้องกัน แมลงวันและสัตว์พาหะ การทิ้งซากแบบนี้จะช่วยให้แบคทีเรียย่อยสลายซากไก่ได้อย่างรวดเร็ว การย่อยสลาย จะเร็วขึ้นถ้าหากมีการสับซากไก่ตายให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ก่อนทิ้งลงบ่อทิ้งซาก การทำบ่อทิ้งซากจะต้องให้อยู่ในที่ ดอน น้ำท่วมไม่ถึง อยู่ห่างจากบ้านพักอาศัยไม่น้อยกว่า 60 เมตร ห่างจากแหล่งน้ำ บ่อน้ำหรืออ่างเก็บน้ำไม่ น้อยกว่า 90 เมตร และจะต้องอยู่ห่างจากโรงเรือนเลี้ยงไก่ไม่น้อยกว่า 8 เมตร ขนาดของบ่อทิ้งซากจะต้อง คำนวณให้เหมาะสมกับอัตราการตายของไก่ในฟาร์ม โดยปกติขั้นต่ าจะคำนวณไว้ประมาณ 1.4 ลูกบาศก์เมตร/ การตายของไก่จำนวน 1,000 ตัว/ปี

Smartlink

3. การเผา (Incineration) 

      เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการกำจัดซากไก่ตายแต่อาจจะต้องถูกตรวจสอบ จากหน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่นเสียก่อน เนื่องจากอาจจะก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศได้ การเผาเป็นมาตรการ หนึ่งในระบบการป้องกันภัยทางชีวภาพและไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ ไม่เป็นที่ดึงดูดสัตว์พาหะและเถ้าที่เหลือ ก็กำจัดได้ง่าย แต่การกำจัดซากแบบนี้มีข้อเสีย คือ กำจัดซากได้ช้าและใช้ต้นทุนในการดำเนินงานสูง ถ้าเตาเผา ซากอยู่ในตำแหน่งไม่เหมาะสม เช่น อยู่เหนือลมอาจจะมีการร้องเรียนเรื่องกลิ่นรบกวนของชุมชนที่อยู่ใต้ลมได้

 

4. การนำไปกำจัดหรือการนำไปแปรรูปเพื่อใช้ประโยชน์ (Rendering) 

      ซากไก่ที่ตายเนื่องจาก อัตราการตายปกติ คือ ไม่ได้ตายเนื่องจากการติดเชื้อโรคสามารถนำซากไก่ไปใช้ประโยชน์เป็นผลพลอยได้จาก สัตว์ (Animal by-product) และใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ซึ่งจะทำให้ลดปัญหาในการกำจัดซากลงได้และเป็น การสร้างมูลค่าเพิ่มได้ เช่น การนำไปเป็นอาหารเลี้ยงจระเข้ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการสุขาภิบาลและ การจัดการซากไก่ตายอย่างเป็นระบบและเหมาะสม ฟาร์มบางแห่งจะมีการสร้างห้องเย็นหรือห้องแช่แข็ง สำหรับเก็บซากไก่ตายเพื่อรอการจำหน่ายโดยเฉพาะ

 

Smartlink

5. การทำปุ๋ยหมัก (Composting) 

       การนำซากไก่ตายไปทำเป็นปุ๋ยหมักนิยมทำกันมากในการเลี้ยงไก่ กระทง ถ้ามีการจัดการที่ถูกต้องจะเป็นวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับกลิ่นและ มลพิษทางน้ำ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความอุดมสมบูรณ์ของดินอีกด้วย

 

ขั้นตอนการทำปุ๋ยหมักจากซากไก่ตาย มีขั้นตอนดังนี้

1. บดซากไก่ตายและทำการคลุกเคล้าชิ้นส่วนที่มีขนาดใหญ่กับขนาดเล็กให้เข้ากัน
2. ควบคุมความชื้นให้เหมาะสม คือประมาณ 60% ถ้าความชื้นในกองปุ๋ยหมักมากกว่านี้จะ ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็น แต่ถ้าความชื้นต่ำกว่านี้จะทำให้กระบวนการย่อยสลายช้าลง
3. สัดส่วนของคาร์บอน : ไนโตรเจน จะต้องเหมาะสม เพื่อให้การเจริญของแบคทีเรียและเชื้อ ราดีที่สุด สัดส่วนที่เหมาะสมจะต้องอยู่ในช่วง 20-25 : 1 โดยการรักษาสัดส่วนของซากไก่ตายและแหล่งของ คาร์บอนโดยใช้ฟางข้าว ซังข้าวโพด ใบไม้หรือหญ้า ฯลฯ
4. อุณหภูมิที่เหมาะสม ในกระบวนการหมักและย่อยสลายโดยจุลินทรีย์จะต้องมีอุณหภูมิอยู่ ระหว่าง 54-66 °ซ ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 83 °ซ หรือ ต่ำกว่า 49 °ซ จะทำให้คุณภาพปุ๋ยหมักไม่ดี

Smartlink

การเตรียมส่วนผสมและการจัดวางซากไก่ตาย แหล่งคาร์บอน และน้ำ จะต้องจัดวางเป็นชั้น ๆ โดย เริ่มจากมูลไก่ แหล่งคาร์บอน (ฟางข้าวหรือซังข้าวโพด ฯลฯ) ซากไก่ตาย ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ การวางแต่ละ ชั้นจะต้องไม่ให้หนาเกิน 6-8 นิ้ว หรือ 15-20 เซนติเมตร หรือเหนาเท่ากับความหนาของตัวไก่ที่วางนอน โดย กำหนดสัดส่วนดังนี้
– ซากไก่ตาย 1.0 ส่วน โดยน้ำหนัก
– มูลไก่ 1.5 ส่วน
– ฟางข้าว/ซังข้าวโพด (แหล่งคาร์บอน) 0.1 ส่วน
– น้ำ 0.2 ส่วน
ในบางกรณีการเพิ่มน้ำเข้าไปอาจจะไม่จำเป็นเนื่องจากความชื้นที่มากเกินไปอาจจะทำให้เกิดกลิ่น เหม็นและเป็นมลพิษทางอากาศได้
ตารางที่ 3.5 เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของการกำจัดซากไก่ตายโดยวิธีต่าง ๆ

 

วิธีการ ข้อดี ข้อเสีย

การฝัง (Disposal pit)

 

– ประหยัดค่าใช้จ่ายและมีกลิ่นรบกวน น้อย การเผา (Incineration)

– ไม่ปนเปื้อนน้ำใต้ดินและไม่ติดต่อไปยังไก่ ตัวอื่น ถ้าระบบการเผามีประสิทธิภาพ
– เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคและ จะต้องมีการระบายน้ำดี
– ต้องคำนึงถึงการปนเปื้อนเชื้อ โรค กลิ่นไปสู่น้ำใต้ดิน
– ค่าใช้จ่ายสูงและอาจทำให้เกิด มลพิษทางอากาศ
– มีเศษเหลือน้อย
– ต้องแน่ใจว่าขนาดและประสิทธิภาพของเตาเผา เพียงพอต่อความต้องการใช้ของ ฟาร์ม
– จะต้องเผาซากไก่ให้ไหม้อย่าง สมบูรณ์จนเถ้าเป็นสีขาว

 Smartfarm

ทำปุ๋ยหมัก (Composting)

– ทำให้มี รายได้เพิ่มขึ้นถ้ามีการวาง แผนการผลิตและมีตลาดรองรับ
– ถ้ากระบวนการทำปุ๋ยหมักถูกต้องจะไม่มี การปนเปื้อนเชื้อโรคไปสู่ดินและอากาศ
– ไม่มีข้อมูล การนำไปกำจัด/แปรรูป (Rendering)
– ไม่มีการกำจัดซากไก่ตายภายในบริเวณ ฟาร์ม
– ลงทุนต่ำ
– การปนเปื้อนเชื้อโรคไปสู่สิ่งแวดล้อมต่ำ
– ซากไก่สามารถนำกลับไปเป็นวัตถุดิบ อาหารสัตว์ชนิดอื่นได้
– ต้องมีตู้แช่แข็งเพื่อเก็บซากไก่ – ต้องมีระบบการป้องกันภัยทาง ชีวภาพอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกัน ไม่ให้เชื้อโรคจากโรงงานกำจัด ติดต่อมายังฟาร์ม

 

ที่มา : Arber Acres; Broiler Management Hand Book (2014)

สรุปขั้นตอนการทำความสะอาดโรงเรือนเลี้ยงไก่
1. ปลดไก่
2. เก็บอุปกรณ์
3. ขนวัสดุรองพื้น
4. ปัดกวาดหยากไย่ โดยปัดกวาดจากส่วนที่สูงที่สุดลงมา เช่น หลังคา เพดาน ตาข่าย
5. ล้างโรงเรือน โดยล้างจากส่วนที่สูงที่สุดลงมา เช่น หลังคา เพดาน ตาข่าย พัดลม อุปกรณ์ต่าง ๆ พื้น และบริเวณรอบโรงเรือนด้วยปั๊มแรงดันสูง 200-400 ปอนด์/ตร.นิ้ว
6. ราดโซดาไฟบริเวณพื้นและทางเดินรอบโรงเรือน เพื่อทำลายไข่พยาธิ อัตราส่วน 3-5 กก./น้ า 100 ลิตร
7. พ่นยาฆ่าแมลงและยาฆ่าเชื้อ ฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณหลังคา เพดาน ตาข่าย ผนัง พื้นและบริเวณรอบ ๆ โรงเรือน
8. พ่นไฟ ปกติมักใช้กับฟาร์มเลี้ยงไก่พ่อแม่พันธุ์
9. ปิดผ้าม่าน ผ้าม่านต้องซักทำความสะอาด
10. พ่นยาฆ่าเชื้อ บริเวณหลังคา เพดาน ผนัง พื้นและบริเวณรอบ ๆ โรงเรือน
11. พ่นฟอร์มาลิน ขณะพื้นเปียกหมาด ๆ อากาศเย็นและไม่มีลม โรงเรือนปิดด้วยผ้าม่าน 12. โรยปูนขาวบนพื้นให้ทั่ว อัตราส่วน ปูนขาว 5 กก./พื้นที่ 80 ตร.เมตร
13. นำวัสดุรองพื้นเข้า
14. จัดกก/อุปกรณ์ อุปกรณ์จะต้องจุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อโรคก่อนนำเข้ามา
15. พ่นฟอร์มาลินบนวัสดุรองพื้น อัตราส่วน ฟอร์มาลิน 1 ลิตร/น้ำ 9 ลิตร
16. โรยปูนขาวรอบ ๆ ทางเดินและเตรียมอ่างจุ่มเท้า (น้ำยาฆ่าเชื้อ)

 

การจัดการของเสีย ภายในฟาร์ม

มูลไก่และการกำจัด
     ถ้าเป็นฟาร์มขนาดเล็กเลี้ยงไก่ไม่มากนักการจัดการมูลสามารถทำได้ง่าย แต่ถ้าเป็นฟาร์มขนาดใหญ่ เลี้ยงไก่จำนวนมากอาจจะหลายหมื่นถึงหลายแสนตัวการกำจัดมูลก็จะเป็นปัญหามาก มูลไก่ที่ขับถ่ายออกมาไม่ว่าจะคิดเป็นน้ำหนักหรือคิดเป็นปริมาตรจะมีความผันแปรอย่างมากตั้งแต่ประมาณ 35% จนถึง 145% ของ ปริมาณอาหารที่กินเข้าไปขึ้นกับว่าวัดเป็นน้ำหนักหรือวัดปริมาตร ถ้าชั่งน้ำหนักทันทีหลังจากที่ไก่ขับถ่ายมูล ออกมาก็จะได้น้ำหนักที่มากกว่า
 
      เนื่องจากมูลยังมีความชื้นสูง ซึ่ง Ota and McNally (1961 ; อ้างตาม Bell and Weaver, 2002) รายงานไว้ว่าไก่พันธุ์ไวท์เล็กฮอร์นจะขับถ่ายมูลออกมาประมาณ 140-195 กรัม/วัน (น้ำหนักมูลสด) ซึ่งจะมีน้ำหนักประมาณ 1.45 เท่าน้ำหนักอาหารที่กินเข้าไป ส่วน Bell (1971 ; อ้างตาม Bell and Weaver, 2002) ได้ทำการเก็บข้อมูลในไก่ไข่ที่เลี้ยงในสหรัฐอเมริกา พบว่า ไก่ไข่จะขับถ่ายมูล ออกมาเฉลี่ย 122 กรัม/ตัว/วัน ซึ่งมีปริมาณเกือบเท่ากับปริมาณอาหารที่กินเข้าไปในแต่ละวัน และ Larenz (1986 ; อ้างตาม Bell and Weaver, 2002) พบว่า ไก่จะขับถ่ายมูลออกมาประมาณ 35% ของประมาณ อาหารที่กินเข้าไป (มูลมีความชื้น 59%)
Smartlink
      วัสดุรองพื้น (Litter) ในบทนี้จะหมายถึง มูลและวัสดุรองพื้นปนกัน Paterson et al. (1998 ; อ้าง ตาม Bell and Weaver, 2002) รายงานว่า ไก่กระทงที่เลี้ยงจนถึงอายุ 44 วัน และ 57 วัน จะเพิ่มน้ำหนัก ของวัสดุรองพื้นขึ้นประมาณ 22 และ 26 กิโลกรัม/วัน/ไก่ 1,000 ตัว ตามลำดับ และถ้าคำนวณเป็นน้ำหนัก แห้งจะได้ประมาณ 0.73 และ 1.23 ตัน/ไก่ 1,000 ตัว เมื่อเลี้ยงจนถึงอายุ 44 และ 57 วัน ตามลำดับ
 
       ปัญหาเกี่ยวกับการกำจัดมูลไก่จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ ขึ้นกับสภาพแวดล้อมลักษณะของ ภูมิอากาศ ลักษณะทางภูมิประเทศและการนำมูลไก่ไปใช้ประโยชน์ เช่น การนำไปเป็นปุ๋ยสำหรับพืชไร่ ฯลฯ
 
การจัดการเพื่อนำมูลไก่เป็นปุ๋ยสำหรับพืช
    ข้อมูลปริมาณมูลที่ผลิตได้จากไก่ในตารางที่ 3.1 นั้น อยู่บนพื้นฐานของการขับถ่ายมูลประมาณ 102 กรัม/วัน/ตัวในไก่ไข่พันธุ์ไวท์เล็กฮอร์น และ 116 กรัม/ตัว/วันในไก่ไข่เปลือกสีน้ำตาล ปริมาณมูลที่สะสมอยู่ใต้ กรงไก่หรือภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่นั้นขึ้นกับวิธีการทำให้มูลแห้ง ซึ่งน้ำหนักและปริมาตรของมูลจะลดลงเรื่อย ๆ
 
    ตามระยะเวลาที่เก็บ เนื่องจากการระเหยน้ำและการย่อยสลาย จากการประมาณการ ไก่ไข่ 1 ตัวจะผลิตมูล ออกมาประมาณ 1.8 ลูกบาศก์ฟุต/ตัว/ปี ในระหว่างนั้นถ้ามีการทำให้แห้งโดยธรรมชาติและมีการย่อยสลาย โดยจุลินทรีย์บ้างก็จะลดปริมาตรลงเหลือประมาณ 1 ลูกบาศก์ฟุต/ตัว/ปี
 Smartlink
ตารางที่ 3.1 ค่าประมาณการปริมาณมูลที่เกิดจากการเลี้ยงไก่ไข่ ไก่ไข่รุ่นทดแทนและไก่กระทง (มูลสด ประมาณการจากปริมาณอาหารที่กิน) 
สัตว์ (10,000 ตัว) มูลสด (ตัน/วัน) มูลสด (ตัว/ปี)* มูลแห้ง (ตัน/ปี)** ไก่ไข่ (Layers)
– เปลือกไข่สีขาว 1.13 410.6 136.7
– เปลือกไข่สีน้ำตาล 1.28 465.4 155.1 ไก่ไข่รุ่นทดแทน (Replacement pullet, 0-20 สัปดาห์)
– เปลือกไข่สีขาว 0.54 179.4 59.8
– เปลือกไข่สีน้ำตาล 0.61 200.6 66.9 ไก่กระทง (Broilers)
– 0-42 วัน 0.87 237.2 79.1
– 0-49 วัน 1.01 287.0 95.6
– 0-56 วัน 1.14 332.8 110.9
 
หมายเหตุ
* มีระยะพักเล้าประมาณ 2 สัปดาห์/ฝูง (ไม่มีวัสดุรองพื้น)
** มูลแห้ง มีความชื้นประมาณ 25-35%
ที่มา : Bell and Weaver (2002)
 
Smartlink
ความจำเป็นในการทำให้มูลแห้ง
ความชื้นในมูลจะก่อให้เกิดปัญหาหลายประการ ได้แก่
1.เป็นอาหารและแหล่งวางไข่สำหรับแมลงวัน
2.ค่าขนส่งในการน ามูลไปจากฟาร์มจะสูงขึ้น เนื่องจากถ้ามีความชื้นสูงจะมีน้ำหนักมากขึ้น (น้ำหนัก/ ปริมาตร)
3.ปริมาณธาตุอาหารต่อหน่วยน้ำหนักลดลง (กรณีที่นำไปทำเป็นปุ๋ยสำหรับพืช)
4.ส่งกลิ่นเหม็นรุนแรง
 
มูลสดที่เพิ่งขับถ่ายออกมาจากไก่ไข่จะมีความชื้นประมาณ 70-80% อย่างไรก็ตาม ค่าความชื้นนี้จะ ผันแปรได้เนื่องจากอาจจะมีความชื้นมาจากแหล่งอื่นเพิ่มเข้ามาเช่น จากอุปกรณ์ให้น้ำและพฤติกรรมส่วนตัว ของไก่ขณะกินน้ำ ฯลฯ การจัดการมูลที่แนะนำคือจะต้องให้ความชื้นในมูลไม่เกิน 30% เพื่อไม่ให้เป็นอาหาร และแหล่งวางไข่ของแมลงวัน ซึ่งสามารถทำได้โดยการเลี้ยงไก่ในอัตราความหนาแน่นที่เหมาะสม ติดตั้งพัดลม ให้มีลมพัดผ่านมูลโดยตรงและมีการกลับกองมูลบ่อยขึ้น เป็นต้น
 
     จากข้อมูล ไก่จำนวน 1,000 ตัวจะขับถ่ายมูลสดออกมาจำนวน 420 ตัน/ปี เมื่อทำให้ แห้ง (มีความชื้นประมาณ 25-30%) จะเหลือน้ำหนักมูลเพียง 137 ตันเท่านั้นที่จะต้องขนส่งออกไปจากฟาร์ม จะเห็นได้ว่า ถ้าเราทำมูลให้แห้งแล้วจะสามารถลดปริมาณมูลลงได้จนเหลือเพียง 1 ใน 3 ของน้ำหนักเริ่มต้น หรือเราจะสามารถลดจำนวนรถบรรทุกลงได้จาก 20 คันเหลือเพียง 7 คันเท่านั้น จึงทำให้ประหยัดค่าขนส่งลง ได้
Smartlink
      มีการนำมูลไก่มาใช้เป็นปุ๋ยสำหรับพืชมานานแล้ว ซึ่งมูลไก่เป็นแหล่งที่ดีของอินทรียวัตถุและธาตุ อาหารสำหรับพืช อย่างไรก็ตาม ปัญหาของการใช้มูลไก่ ได้แก่ ปริมาณธาตุอาหารในมูลไก่แต่ละฝูง แต่ละ โรงเรือนไม่คงที่ จึงเป็นการยากที่เกษตรกรจะใช้ในพืชแล้วพืชจะได้รับธาตุอาหารที่ถูกต้องแม่นยำตามที่ ต้องการ ปริมาณธาตุอาหารในมูลหรือในวัสดุรองพื้นจะผันแปรไปได้เนื่องจากชนิดของไก่ สูตรอาหารที่ให้ไก่กิน
วิธีการเลี้ยงดูแลและจัดการมูล เป็นต้น
 
      เหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกิดความผันแปรของปริมาณธาตุอาหารในมูล ได้แก่ ความชื้นที่ต่างกัน มูลสด อาจจะมีน้ำหรือความชื้นมากกว่า 70% เมื่อมูลนั้นแห้งลงไม่เฉพาะแต่ความเข้มข้นของธาตุอาหารต่อหน่วย น้ำหนักเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงแต่ความเข้มข้นต่อหน่วยปริมาตรก็เปลี่ยนแปลงด้วย เนื่องจากมีการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของมูลด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับมูลสด มูลแห้งที่มีความชื้นประมาณ 30% จะมีปริมาตร ลดลงประมาณ 50% จากปริมาตรมูลสด
การท าให้มูลไก่แห้ง มี 2 วิธีใหญ่ ๆ ได้แก่
Smartlink
 
 
1. การทำแห้งโดยใช้อุปกรณ์ช่วย บางฟาร์มใช้อุปกรณ์ช่วยในการทำแห้งเพื่อให้ได้มูลไก่ไปทำเป็นปุ๋ย ที่มีคุณภาพดี สามารถลดปริมาตรและน้ำหนักมูลลงและสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการย่อยสลายโดยแบคทีเรีย อันจะทำให้เกิดกลิ่นเหม็นได้ เครื่องทำแห้ง (Dryer) ที่มีจำหน่ายในปัจจุบันจะใช้อุณหภูมิตั้งแต่ 371-982 °ซ (700-1,800 °ซ) ระยะเวลาในการทำแห้งจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่ใช้ ปริมาณความชื้นในมูล อัตราการไหลผ่านของมูลและความชื้นสุดท้ายของมูลที่เราต้องการ เครื่องทำแห้งทั่วไปสามารถลดความชื้นในมูลจาก 70% ให้ เหลือเพียง 10% ได้ภายในเวลาเพียง 10 นาที
 
2. การทำแห้งโดยธรรมชาติ โดยการใช้แสงแดดช่วย นิยมใช้ในพื้นที่ที่มีฝนตกน้อย การเลี้ยงไก่ไข่ขัง กรงและมีการเก็บกวาดมูลทุกวัน นำมูลมาเกลี่ยบนพื้นที่มีลดพัดผ่านได้ดี ซึ่งถ้ามีแดดและลมพัดดีจะสามารถ ลดความชื้นในมูลจาก 75% ให้ลงเหลือเพียง 20% ภายในเวลา 2 วันเท่านั้น ถ้าทำให้แห้งเร็วปริมาณธาตุ ไนโตรเจนที่มีอยู่ในมูลก็จะยังคงเหลือมาก กรงไก่ไข่ที่ใช้ในปัจจุบัน บางรุ่นจะมีสายพานลำเลียงมูลวางอยู่ใต้พื้น กรงและจะมีพัดลมเป่าด้วยเพื่อช่วยให้มูลแห้งเร็วขึ้น
 
Smartfarm
การใช้ประโยชน์จากมูลไก่
การทำปุ๋ยหมักจากมูลไก่ (Composting manure)

       การย่อยสลายที่เกิดขึ้นโดยจุลินทรีย์ที่ใช้อากาศเป็นกระบวนการตามธรรมชาติ ทำให้เกิดก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำและความร้อน หลังจากการย่อยสลายที่สมบูรณ์แล้วจะได้วัตถุที่มีลักษณะคล้ายดิน มี ฮิวมัส (Humus) เป็นส่วนประกอบสูง ในระหว่างที่กระบวนการย่อยสลายดำเนินอยู่นั้นจะเกิดการย่อยสลาย ไนโตรเจนเป็นก๊าซแอมโนเนียระเหยขึ้นไปในชั้นบรรยากาศ ดังนั้น ภายหลังจากการย่อยสลายที่สมบูรณ์แล้ว ปริมาณธาตุไนโตรเจนในมูลก็จะลดลงและมักจะเกิดปัญหาเกี่ยวกับกลิ่นแอมโมเนียในระหว่างกระบวนการย่อย สลาย ปุ๋ยหมักสามารถทำจากมูลไก่ที่เลี้ยงแบบขังกรงหรือเลี้ยงบนวัสดุรอง ของเสียจากโรงฟัก เปลือกไข่และ ซากไก่ตาย ซึ่งสามารถที่จะเปลี่ยนจากของเสียไปเป็นผลพลอยได้มีสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้
 
.
ขั้นตอนการทำปุ๋ยหมักประกอบด้วย
1.ผสมเศษเหลือหรือของเสียจากฟาร์มด้วยวัสดุที่มีคาร์บอน (ฟางข้าว ซังข้าวโพด ฯลฯ) ให้เข้ากันใน อัตราส่วนของแหล่งคาร์บอน : ไนโตรเจน เท่ากับ 20-25 : 1 ดังนั้น มูลสัตว์อย่างเดียวก็อาจจะทำเป็นปุ๋ยหมัก ได้ถ้าหากมีอัตราส่วนของคาร์บอน : ไนโตเจน เหมาะสม
2.เติมอากาศเข้าไป
3.ราดน้ำเพื่อเพิ่มความชื้นให้ได้ประมาณ 35-50%
4.ตรวจสอบอุณหภูมิภายในกองหมัก ในช่วงแรกอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นสูงมาก เนื่องจากเกิดกระบวนการ ย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ซึ่งจะใช้เวลาหลายสัปดาห์ ถ้ากระบวนการย่อยสลายสมบูรณ์แล้วอุณหภูมิภายในกอง ปุ๋ยหมักจะคงที่ไม่เพิ่มอุณหภูมิขึ้นทั้งในขณะเก็บรักษาและขณะใช้งาน
 
ธาตุอาหารในมูลไก่
ปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในมูลไก่จะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่
1. ส่วนประกอบทางโภชนะของอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่
2. อายุและประเภทของไก่
3. วิธีการเก็บและการจัดการมูล
4. สภาพแวดล้อมทั่วไปภายในโรงเรือน เช่น อุณหภูมิ ความชื้น อุปกรณ์ให้น้ำ ซึ่งจะส่งผลต่อความชื้น ในมูล
 
      คุณภาพของมูลไก่ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับปริมาณความชื้น ยิ่งทำให้มูลแห้งเร็วเท่าไรปริมาณธาตุอาหาร ก็จะยังคงมีอยู่สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งธาตุไนโตรเจนซึ่งจะระเหยไปในรูปของก๊าชแอมโนเนียได้ง่ายถ้ามีความชื้น และมีการทำงานของจุลินทรีย์ เมื่อคำนวณปริมาณธาตุอาหารในมูลพบว่าจะมีสัดส่วนจะผกผันกับปริมาณ ความชื้น ดังแสดงในตารางที่ 3.2 ตัวอย่าง มูลแห้งที่มีความชื้นต่ำกว่า 35% จะมีธาตุไนโตรเจนอยู่ประมาณ 60 กิโลกรัม/ตัน ในขณะที่เมื่อมูลมีความชื้น 35-55% จะมีไนโตรเจนประมาณ 20 กิโลกรัม/ตัน และถ้ามูล เปียกมีความชื้นมากกว่า 55% ก็จะมีปริมาณธาตุไนโตรเจนอยู่เพียง 12 กิโลกรัม/ตัน เท่านั้น ดังนั้นถ้า เกษตรกรต้องการจะให้ธาตุไนโตรเจนแก่พืชที่กำลังเพาะปลูกจำนวน 30 กิโลกรมในพื้นที่ จะต้องใช้มูลไก่เปียก ประมาณ 2.4 ตัน แต่ถ้าใช้มูลแห้งก็จะใช้เพียง 1 ตัน เท่านั้น
 
ค่าการวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารพืชในมูลไก่ไข่ในกรงที่มีความชื้นต่างกัน ความชื้น (%) ไนโตรเจน (%)ฟอสฟอรัส * โปแตสเซียม * เกลือทั้งหมด P (%) P (%) 2O5(%) K (%) K2O (%) มูลสด (75%) 1.13 0.74 1.70 0.63 0.76 3.86 มูลชื้น (35%) 2.36 1.31 3.01 0.98 1.18 4.94 มูลแห้ง (10%) 3.84 2.01 4.62 1.42 1.70 6.18 * P2O5 = P x 2.3 ; K2O = K x 12
ที่มา : Bell (1971 ; อ้างตามใน Bell and Weaver (2002)
 
Smartlink
การใช้มูลไก่เป็นอาหารสัตว์
      มูลไก่นอกจากจะนำไปใช้เป็นปุ๋ยสำหรับให้ธาตุอาหารแก่พืชแล้ว ยังมีการนำมูลไก่ไปเป็นอาหารสัตว์ เคี้ยวเอื้องด้วย เนื่องจากในมูลไก่จะยังคงเหลือส่วนประกอบของวัตถุดิบบางชนิดที่ยังย่อยและดูดซึมไม่หมด
เช่น สารประกอบกลุ่มไนโตเจนที่ไม่ใช่โปรตีน (Non-protein nitrogen) ดังนั้น จึงสามารถนำมูลไก่กลับมาใช้ เป็นอาหารสัตว์ได้โดยสามารถใช้เป็นอาหารในโคที่ไม่ให้น้ำนมได้ แต่ใช้ในกลุ่มสัตว์กระเพาะเดี่ยวจะไม่ดี เนื่องจากมีโปรตีนแท้เหลืออยู่ค่อนข้างต่ำและมีปริมาณเถ้าสูงจึงไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ 
 
    เนื่องจากการ เจริญเติบโตจะลดลงและจำเป็นจะต้องเสริมอาหารโปรตีนคุณภาพสูง อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะนำมูลไก่ไปใช้ จะต้องมีการตรวจสอบก่อนว่าไม่มีสิ่งแปลกปลอมที่จะเป็นอันตรายต่อสัตว์ปะปนมาด้วย ดังนั้น การจะนำมูลไก่ มาใช้เป็นอาหารสัตว์นั้นจะต้องมีการวางแผนและการจัดการที่ดีเพื่อให้ได้มูลไก่ที่มีปริมาณโภชนะสูงและไม่มี การปนเปื้อนสิ่งแปลกปลอมและสารเคมีตกค้างทั้งยาฆ่าแมลง ยาปฏิชีวนะและยากำจัดวัชพืช เศษโลหะ เศษ หิน หรือเศษแก้ว ฯลฯ
 
ตารางที่ 3.3 ส่วนประกอบทางเคมี/โภชนะในมูลไก่
โภชนะ เปอร์เซ็นต์
ความชื้น 7.4
โปรตีน 23.8
โปรตีนแท้ 10.8
ไขมันรวม 2.1
แป้ง 39.6
เยื่อใย 13.7
เถ้า 26.9
แคลเซียม 7.8
ที่มา : Bell and Weaver (2002)
 
ปัญหาที่มักพบบ่อยเกี่ยวกับมูล
มูลเปียก (Wet dropping) ปัญหามูลเปียกเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ได้แก่
1. ถ้าอาหารมีโปรตีนและเกลือสูงก็จะทำให้ไก่ขับถ่ายมูลออกมาเหลวกว่า
2. สายพันธุ์ไก่ พบว่า ไก่ไข่ที่ให้ไข่ดกจะขับถ่ายมูลเหลวกว่าไก่ที่ไข่ไม่ดก
3. อุณหภูมิสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรือน ถ้าอุณหภูมิสูงจะทำให้ไก่กินน้ำมากขึ้นเพื่อช่วย ระบายความร้อนออกจากร่างกายยิ่งส่งผลให้ขับถ่ายมูลออกมาเหลวด้วย
4. น้ำรั่วจากอุปกรณ์ให้น้ำเป็นการเพิ่มความชื้นเข้าไปโดยตรง การตรวจสอบการรั่วของน้ำนั้นทำได้ยาก กว่าที่ผู้เลี้ยงจะทราบก็อาจจะสายเกินไป จึงจำเป็นต้องใช้มิเตอร์วัดปริมาตรน้ำที่ใช้ในแต่ละวันถ้า พบความผิดปกติของการใช้น้ำให้รีบตรวจสอบทันทีปัจจุบันยังมีการพัฒนาเซ็นเซอร์ติดตั้งอุปกรณ์ให้น้ำถ้ามี ปริมาณการใช้น้ำมากกว่าค่ามารฐานกำหนดไว้ก็จะมีการเตือนให้ผู้เลี้ยงไปตรวจสอบความผิดปกติ
 
Smartlink
กลิ่น (Odor) มูลไก่มีธาตุไนโตรเจนอยู่สูง
     ดังนั้น ถ้ามูลไก่มีความชื้นก็จะทำให้จุลินทรีย์ทำปฏิกิริยาได้ง่ายขึ้นจึงปลดปล่อยก๊าซแอมโมเนียออกมา ซึ่งก๊าซแอมโนเมียนี้นอกจากจะส่งกลิ่นเหม็นรบกวนแล้วยังมีฤทธิ์ กัดกร่อนวัสดุพวกโลหะอีกด้วย
 
การกำจัดซากไก่ตาย
     ในระหว่างการเลี้ยงไก่มักจะมีการตายเกิดขึ้นเกือบทุกวันซึ่งการตายของไก่จะแบ่งออกเป็น การตาย ปกติที่ไม่เกิดจากโรค การตายจากอุบัติเหตุและการตายจากการเกิดโรคหรือไก่คัดทิ้ง เป็นต้น หลักการจัดการไก่ซากตายมีขั้นตอนดังนี้
 
1. ต้องเก็บไก่ตายและนำออกจากกรงหรือโรงเรือนทุกวัน
2. ต้องเก็บไก่ตายไว้ในภาชนะที่ปิดมิดชิดเพื่อป้องกันมิให้สัมผัสกับสัตว์พาหะ เช่น แมลงวัน แมลงปีก แข็ง สุนัข แมวและนกป่า เป็นต้น
3. ต้องนำซากไปเก็บหรือนำไปกำจัดในพื้นที่ที่แยกออกต่างหากซึ่งอยู่ห่างจากพื้นที่เลี้ยงไก่พอสมควร
4. หลังจากเก็บซากไก่ตายไปใส่ภาชนะหรือนำออกไปจากโรงเรือนแล้ว ผู้ปฏิบัติงานจะต้องล้างมือ ล้างอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สัมผัสกับไก่ให้สะอาดและฆ่าเชื้อ สำหรับพนักงานให้เปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่เป็นชุดที่สะอาด ก่อนเริ่มปฏิบัติงานใหม่
5. บุคคลที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับซากไก่ตายหรือพาหนะที่บรรทุกไก่ตายออกไปทิ้งหรือกำจัดจะไม่ อนุญาตให้กลับเข้ามาในพื้นที่เลี้ยงไก่อีกเด็ดขาด ยกเว้น จะต้องผ่านกระบวนการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ แล้วเท่านั้น
Smartlink
     ระบบการกำจัดซากไก่ตายจะต้องทำไว้ให้สามารถกำจัดซากไก่ได้เพียงพอ อย่างน้อยที่สุดก็ในกรณีที่มี การตายอยู่ในระดับปกติและจะต้องเผื่อไว้อีกเล็กน้อยกรณีที่มีอัตราการตายเพิ่มขึ้นซึ่งสามารถใช้ค่าในตารางที่ 3.4 เป็นพื้นฐานในการคำนวณได้
ตารางที่ 3.4 ปริมาณซากไก่ตายที่อัตราการตายแตกต่างกัน (กิโลกรัม) (เปอร์เซ็นต์ไก่ตาย x น้ำหนักตัวเฉลี่ย x 1,000 ตัว)
ต่อ 10,000 ตัว อัตราการตาย (%)
0.10%/สัปดาห์ 0.25%/สัปดาห์ 0.50%/สัปดาห์
 
ไก่ไข่ (Layers)
– เปลือกไข่สีขาว (1.8 กก.) 2.6 6.5 13.0
– เปลือกไข่สีน้ำตาล (2.3 กก.) 3.2 8.1 16.2 ไก่ไข่รุ่นทดแทน (Replacement pullets)
– เปลือกไข่สีขาว (1.4 กก.) 2.0 4.9 9.7
– เปลือกไข่สีน้ำตาล (1.6 กก.) 2.3 5.7 11.4 ไก่กระทง (Broilers)
– น้ำหนัก 2.3 กก. 3.2 8.1 16.2
– น้ำหนัก 2.7 กก. 3.9 9.8 19.5 ที่มา : Bell and Weaver (2002)
 
วิธีการกำจัดซากไก่ตาย
      การกำจัดซากไก่ตายมีหลายวิธีแต่ละวิธีมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ดังแสดงในตารางที่ 3.5 วิธีการ กำจัดซากแต่ละวิธี มีการดำเนินการดังนี้
 
Smartlink
1. การฝัง (Burial) 
       เป็นวิธีดั้งเดิมที่นิยมใช้กันในอดีตและปัจจุบันยังใช้กันอยู่ในฟาร์มเลี้ยงไก่ขนาด เล็ก แต่ในกรณีที่เป็นฟาร์มขนาดใหญ่การกำจัดซากแบบนี้จะไม่เหมาะสมซึ่งอาจจะมีคำถามว่าซากไก่ที่ฝังนั้น อาจจะทำให้น้ำใต้ดินปนเปื้อนได้ เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนและก่อให้เกิดแมลงที่สร้างความรำคาญ การฝังจะต้อง ฝังในระดับลึกพอสมควร เช่น ควรขุดหลุมให้มีขนาดความกว้างประมาณ 76-120 เซนติเมตร และลึกประมาณ
9-12 เมตร หลุมฝังซากจะต้องอยู่ห่างจากแหล่งน้ำและจะต้องขุดไม่ให้ถึงระดับน้ำใต้ดินเพื่อป้องกันการ ปนเปื้อนไปกับน้ำใต้ดิน

2. การทิ้งในบ่อทิ้งซาก (Disposal pits) 
     บ่อทิ้งซากเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการฝังหลุม บ่อทิ้งซาก ปกติมักจะทำให้มีความลึกประมาณ 3 เมตรและมีฝาปิดซึ่งอาจจะทำด้วยไม้หรือทำด้วยคอนกรีตเพื่อป้องกัน แมลงวันและสัตว์พาหะ การทิ้งซากแบบนี้จะช่วยให้แบคทีเรียย่อยสลายซากไก่ได้อย่างรวดเร็ว การย่อยสลาย จะเร็วขึ้นถ้าหากมีการสับซากไก่ตายให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ก่อนทิ้งลงบ่อทิ้งซาก การทำบ่อทิ้งซากจะต้องให้อยู่ในที่ ดอน น้ำท่วมไม่ถึง อยู่ห่างจากบ้านพักอาศัยไม่น้อยกว่า 60 เมตร ห่างจากแหล่งน้ำ บ่อน้ำหรืออ่างเก็บน้ำไม่ น้อยกว่า 90 เมตร และจะต้องอยู่ห่างจากโรงเรือนเลี้ยงไก่ไม่น้อยกว่า 8 เมตร ขนาดของบ่อทิ้งซากจะต้อง คำนวณให้เหมาะสมกับอัตราการตายของไก่ในฟาร์ม โดยปกติขั้นต่ าจะคำนวณไว้ประมาณ 1.4 ลูกบาศก์เมตร/ การตายของไก่จำนวน 1,000 ตัว/ปี
Smartlink
3. การเผา (Incineration) 
      เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการกำจัดซากไก่ตายแต่อาจจะต้องถูกตรวจสอบ จากหน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่นเสียก่อน เนื่องจากอาจจะก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศได้ การเผาเป็นมาตรการ หนึ่งในระบบการป้องกันภัยทางชีวภาพและไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ ไม่เป็นที่ดึงดูดสัตว์พาหะและเถ้าที่เหลือ ก็กำจัดได้ง่าย แต่การกำจัดซากแบบนี้มีข้อเสีย คือ กำจัดซากได้ช้าและใช้ต้นทุนในการดำเนินงานสูง ถ้าเตาเผา ซากอยู่ในตำแหน่งไม่เหมาะสม เช่น อยู่เหนือลมอาจจะมีการร้องเรียนเรื่องกลิ่นรบกวนของชุมชนที่อยู่ใต้ลมได้
 
4. การนำไปกำจัดหรือการนำไปแปรรูปเพื่อใช้ประโยชน์ (Rendering) 
      ซากไก่ที่ตายเนื่องจาก อัตราการตายปกติ คือ ไม่ได้ตายเนื่องจากการติดเชื้อโรคสามารถนำซากไก่ไปใช้ประโยชน์เป็นผลพลอยได้จาก สัตว์ (Animal by-product) และใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ซึ่งจะทำให้ลดปัญหาในการกำจัดซากลงได้และเป็น การสร้างมูลค่าเพิ่มได้ เช่น การนำไปเป็นอาหารเลี้ยงจระเข้ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการสุขาภิบาลและ การจัดการซากไก่ตายอย่างเป็นระบบและเหมาะสม ฟาร์มบางแห่งจะมีการสร้างห้องเย็นหรือห้องแช่แข็ง สำหรับเก็บซากไก่ตายเพื่อรอการจำหน่ายโดยเฉพาะ
 
Smartlink
5. การทำปุ๋ยหมัก (Composting) 
       การนำซากไก่ตายไปทำเป็นปุ๋ยหมักนิยมทำกันมากในการเลี้ยงไก่ กระทง ถ้ามีการจัดการที่ถูกต้องจะเป็นวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับกลิ่นและ มลพิษทางน้ำ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความอุดมสมบูรณ์ของดินอีกด้วย
 
ขั้นตอนการทำปุ๋ยหมักจากซากไก่ตาย มีขั้นตอนดังนี้
1. บดซากไก่ตายและทำการคลุกเคล้าชิ้นส่วนที่มีขนาดใหญ่กับขนาดเล็กให้เข้ากัน
2. ควบคุมความชื้นให้เหมาะสม คือประมาณ 60% ถ้าความชื้นในกองปุ๋ยหมักมากกว่านี้จะ ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็น แต่ถ้าความชื้นต่ำกว่านี้จะทำให้กระบวนการย่อยสลายช้าลง
3. สัดส่วนของคาร์บอน : ไนโตรเจน จะต้องเหมาะสม เพื่อให้การเจริญของแบคทีเรียและเชื้อ ราดีที่สุด สัดส่วนที่เหมาะสมจะต้องอยู่ในช่วง 20-25 : 1 โดยการรักษาสัดส่วนของซากไก่ตายและแหล่งของ คาร์บอนโดยใช้ฟางข้าว ซังข้าวโพด ใบไม้หรือหญ้า ฯลฯ
4. อุณหภูมิที่เหมาะสม ในกระบวนการหมักและย่อยสลายโดยจุลินทรีย์จะต้องมีอุณหภูมิอยู่ ระหว่าง 54-66 °ซ ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 83 °ซ หรือ ต่ำกว่า 49 °ซ จะทำให้คุณภาพปุ๋ยหมักไม่ดี
Smartlink
การเตรียมส่วนผสมและการจัดวางซากไก่ตาย แหล่งคาร์บอน และน้ำ จะต้องจัดวางเป็นชั้น ๆ โดย เริ่มจากมูลไก่ แหล่งคาร์บอน (ฟางข้าวหรือซังข้าวโพด ฯลฯ) ซากไก่ตาย ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ การวางแต่ละ ชั้นจะต้องไม่ให้หนาเกิน 6-8 นิ้ว หรือ 15-20 เซนติเมตร หรือเหนาเท่ากับความหนาของตัวไก่ที่วางนอน โดย กำหนดสัดส่วนดังนี้
– ซากไก่ตาย 1.0 ส่วน โดยน้ำหนัก
– มูลไก่ 1.5 ส่วน
– ฟางข้าว/ซังข้าวโพด (แหล่งคาร์บอน) 0.1 ส่วน
– น้ำ 0.2 ส่วน
ในบางกรณีการเพิ่มน้ำเข้าไปอาจจะไม่จำเป็นเนื่องจากความชื้นที่มากเกินไปอาจจะทำให้เกิดกลิ่น เหม็นและเป็นมลพิษทางอากาศได้
ตารางที่ 3.5 เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของการกำจัดซากไก่ตายโดยวิธีต่าง ๆ
 
วิธีการ ข้อดี ข้อเสีย
การฝัง (Disposal pit)
 
– ประหยัดค่าใช้จ่ายและมีกลิ่นรบกวน น้อย การเผา (Incineration)
– ไม่ปนเปื้อนน้ำใต้ดินและไม่ติดต่อไปยังไก่ ตัวอื่น ถ้าระบบการเผามีประสิทธิภาพ
– เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคและ จะต้องมีการระบายน้ำดี
– ต้องคำนึงถึงการปนเปื้อนเชื้อ โรค กลิ่นไปสู่น้ำใต้ดิน
– ค่าใช้จ่ายสูงและอาจทำให้เกิด มลพิษทางอากาศ
– มีเศษเหลือน้อย
– ต้องแน่ใจว่าขนาดและประสิทธิภาพของเตาเผา เพียงพอต่อความต้องการใช้ของ ฟาร์ม
– จะต้องเผาซากไก่ให้ไหม้อย่าง สมบูรณ์จนเถ้าเป็นสีขาว
 Smartfarm
ทำปุ๋ยหมัก (Composting)
– ทำให้มี รายได้เพิ่มขึ้นถ้ามีการวาง แผนการผลิตและมีตลาดรองรับ
– ถ้ากระบวนการทำปุ๋ยหมักถูกต้องจะไม่มี การปนเปื้อนเชื้อโรคไปสู่ดินและอากาศ
– ไม่มีข้อมูล การนำไปกำจัด/แปรรูป (Rendering)
– ไม่มีการกำจัดซากไก่ตายภายในบริเวณ ฟาร์ม
– ลงทุนต่ำ
– การปนเปื้อนเชื้อโรคไปสู่สิ่งแวดล้อมต่ำ
– ซากไก่สามารถนำกลับไปเป็นวัตถุดิบ อาหารสัตว์ชนิดอื่นได้
– ต้องมีตู้แช่แข็งเพื่อเก็บซากไก่ – ต้องมีระบบการป้องกันภัยทาง ชีวภาพอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกัน ไม่ให้เชื้อโรคจากโรงงานกำจัด ติดต่อมายังฟาร์ม
 
ที่มา : Arber Acres; Broiler Management Hand Book (2014)
สรุปขั้นตอนการทำความสะอาดโรงเรือนเลี้ยงไก่
1. ปลดไก่
2. เก็บอุปกรณ์
3. ขนวัสดุรองพื้น
4. ปัดกวาดหยากไย่ โดยปัดกวาดจากส่วนที่สูงที่สุดลงมา เช่น หลังคา เพดาน ตาข่าย
5. ล้างโรงเรือน โดยล้างจากส่วนที่สูงที่สุดลงมา เช่น หลังคา เพดาน ตาข่าย พัดลม อุปกรณ์ต่าง ๆ พื้น และบริเวณรอบโรงเรือนด้วยปั๊มแรงดันสูง 200-400 ปอนด์/ตร.นิ้ว
6. ราดโซดาไฟบริเวณพื้นและทางเดินรอบโรงเรือน เพื่อทำลายไข่พยาธิ อัตราส่วน 3-5 กก./น้ า 100 ลิตร
7. พ่นยาฆ่าแมลงและยาฆ่าเชื้อ ฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณหลังคา เพดาน ตาข่าย ผนัง พื้นและบริเวณรอบ ๆ โรงเรือน
8. พ่นไฟ ปกติมักใช้กับฟาร์มเลี้ยงไก่พ่อแม่พันธุ์
9. ปิดผ้าม่าน ผ้าม่านต้องซักทำความสะอาด
10. พ่นยาฆ่าเชื้อ บริเวณหลังคา เพดาน ผนัง พื้นและบริเวณรอบ ๆ โรงเรือน
11. พ่นฟอร์มาลิน ขณะพื้นเปียกหมาด ๆ อากาศเย็นและไม่มีลม โรงเรือนปิดด้วยผ้าม่าน 12. โรยปูนขาวบนพื้นให้ทั่ว อัตราส่วน ปูนขาว 5 กก./พื้นที่ 80 ตร.เมตร
13. นำวัสดุรองพื้นเข้า
14. จัดกก/อุปกรณ์ อุปกรณ์จะต้องจุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อโรคก่อนนำเข้ามา
15. พ่นฟอร์มาลินบนวัสดุรองพื้น อัตราส่วน ฟอร์มาลิน 1 ลิตร/น้ำ 9 ลิตร
16. โรยปูนขาวรอบ ๆ ทางเดินและเตรียมอ่างจุ่มเท้า (น้ำยาฆ่าเชื้อ)
 

การจัดการของเสีย ภายในฟาร์ม

มูลไก่และการกำจัด
     ถ้าเป็นฟาร์มขนาดเล็กเลี้ยงไก่ไม่มากนักการจัดการมูลสามารถทำได้ง่าย แต่ถ้าเป็นฟาร์มขนาดใหญ่ เลี้ยงไก่จำนวนมากอาจจะหลายหมื่นถึงหลายแสนตัวการกำจัดมูลก็จะเป็นปัญหามาก มูลไก่ที่ขับถ่ายออกมาไม่ว่าจะคิดเป็นน้ำหนักหรือคิดเป็นปริมาตรจะมีความผันแปรอย่างมากตั้งแต่ประมาณ 35% จนถึง 145% ของ ปริมาณอาหารที่กินเข้าไปขึ้นกับว่าวัดเป็นน้ำหนักหรือวัดปริมาตร ถ้าชั่งน้ำหนักทันทีหลังจากที่ไก่ขับถ่ายมูล ออกมาก็จะได้น้ำหนักที่มากกว่า
 
      เนื่องจากมูลยังมีความชื้นสูง ซึ่ง Ota and McNally (1961 ; อ้างตาม Bell and Weaver, 2002) รายงานไว้ว่าไก่พันธุ์ไวท์เล็กฮอร์นจะขับถ่ายมูลออกมาประมาณ 140-195 กรัม/วัน (น้ำหนักมูลสด) ซึ่งจะมีน้ำหนักประมาณ 1.45 เท่าน้ำหนักอาหารที่กินเข้าไป ส่วน Bell (1971 ; อ้างตาม Bell and Weaver, 2002) ได้ทำการเก็บข้อมูลในไก่ไข่ที่เลี้ยงในสหรัฐอเมริกา พบว่า ไก่ไข่จะขับถ่ายมูล ออกมาเฉลี่ย 122 กรัม/ตัว/วัน ซึ่งมีปริมาณเกือบเท่ากับปริมาณอาหารที่กินเข้าไปในแต่ละวัน และ Larenz (1986 ; อ้างตาม Bell and Weaver, 2002) พบว่า ไก่จะขับถ่ายมูลออกมาประมาณ 35% ของประมาณ อาหารที่กินเข้าไป (มูลมีความชื้น 59%)
Smartlink
      วัสดุรองพื้น (Litter) ในบทนี้จะหมายถึง มูลและวัสดุรองพื้นปนกัน Paterson et al. (1998 ; อ้าง ตาม Bell and Weaver, 2002) รายงานว่า ไก่กระทงที่เลี้ยงจนถึงอายุ 44 วัน และ 57 วัน จะเพิ่มน้ำหนัก ของวัสดุรองพื้นขึ้นประมาณ 22 และ 26 กิโลกรัม/วัน/ไก่ 1,000 ตัว ตามลำดับ และถ้าคำนวณเป็นน้ำหนัก แห้งจะได้ประมาณ 0.73 และ 1.23 ตัน/ไก่ 1,000 ตัว เมื่อเลี้ยงจนถึงอายุ 44 และ 57 วัน ตามลำดับ
 
       ปัญหาเกี่ยวกับการกำจัดมูลไก่จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ ขึ้นกับสภาพแวดล้อมลักษณะของ ภูมิอากาศ ลักษณะทางภูมิประเทศและการนำมูลไก่ไปใช้ประโยชน์ เช่น การนำไปเป็นปุ๋ยสำหรับพืชไร่ ฯลฯ
 
การจัดการเพื่อนำมูลไก่เป็นปุ๋ยสำหรับพืช
    ข้อมูลปริมาณมูลที่ผลิตได้จากไก่ในตารางที่ 3.1 นั้น อยู่บนพื้นฐานของการขับถ่ายมูลประมาณ 102 กรัม/วัน/ตัวในไก่ไข่พันธุ์ไวท์เล็กฮอร์น และ 116 กรัม/ตัว/วันในไก่ไข่เปลือกสีน้ำตาล ปริมาณมูลที่สะสมอยู่ใต้ กรงไก่หรือภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่นั้นขึ้นกับวิธีการทำให้มูลแห้ง ซึ่งน้ำหนักและปริมาตรของมูลจะลดลงเรื่อย ๆ
 
    ตามระยะเวลาที่เก็บ เนื่องจากการระเหยน้ำและการย่อยสลาย จากการประมาณการ ไก่ไข่ 1 ตัวจะผลิตมูล ออกมาประมาณ 1.8 ลูกบาศก์ฟุต/ตัว/ปี ในระหว่างนั้นถ้ามีการทำให้แห้งโดยธรรมชาติและมีการย่อยสลาย โดยจุลินทรีย์บ้างก็จะลดปริมาตรลงเหลือประมาณ 1 ลูกบาศก์ฟุต/ตัว/ปี
 Smartlink
ตารางที่ 3.1 ค่าประมาณการปริมาณมูลที่เกิดจากการเลี้ยงไก่ไข่ ไก่ไข่รุ่นทดแทนและไก่กระทง (มูลสด ประมาณการจากปริมาณอาหารที่กิน) 
สัตว์ (10,000 ตัว) มูลสด (ตัน/วัน) มูลสด (ตัว/ปี)* มูลแห้ง (ตัน/ปี)** ไก่ไข่ (Layers)
– เปลือกไข่สีขาว 1.13 410.6 136.7
– เปลือกไข่สีน้ำตาล 1.28 465.4 155.1 ไก่ไข่รุ่นทดแทน (Replacement pullet, 0-20 สัปดาห์)
– เปลือกไข่สีขาว 0.54 179.4 59.8
– เปลือกไข่สีน้ำตาล 0.61 200.6 66.9 ไก่กระทง (Broilers)
– 0-42 วัน 0.87 237.2 79.1
– 0-49 วัน 1.01 287.0 95.6
– 0-56 วัน 1.14 332.8 110.9
 
หมายเหตุ
* มีระยะพักเล้าประมาณ 2 สัปดาห์/ฝูง (ไม่มีวัสดุรองพื้น)
** มูลแห้ง มีความชื้นประมาณ 25-35%
ที่มา : Bell and Weaver (2002)
 
ความจำเป็นในการทำให้มูลแห้ง
ความชื้นในมูลจะก่อให้เกิดปัญหาหลายประการ ได้แก่
1.เป็นอาหารและแหล่งวางไข่สำหรับแมลงวัน
2.ค่าขนส่งในการน ามูลไปจากฟาร์มจะสูงขึ้น เนื่องจากถ้ามีความชื้นสูงจะมีน้ำหนักมากขึ้น (น้ำหนัก/ ปริมาตร)
3.ปริมาณธาตุอาหารต่อหน่วยน้ำหนักลดลง (กรณีที่นำไปทำเป็นปุ๋ยสำหรับพืช)
4.ส่งกลิ่นเหม็นรุนแรง
 
มูลสดที่เพิ่งขับถ่ายออกมาจากไก่ไข่จะมีความชื้นประมาณ 70-80% อย่างไรก็ตาม ค่าความชื้นนี้จะ ผันแปรได้เนื่องจากอาจจะมีความชื้นมาจากแหล่งอื่นเพิ่มเข้ามาเช่น จากอุปกรณ์ให้น้ำและพฤติกรรมส่วนตัว ของไก่ขณะกินน้ำ ฯลฯ การจัดการมูลที่แนะนำคือจะต้องให้ความชื้นในมูลไม่เกิน 30% เพื่อไม่ให้เป็นอาหาร และแหล่งวางไข่ของแมลงวัน ซึ่งสามารถทำได้โดยการเลี้ยงไก่ในอัตราความหนาแน่นที่เหมาะสม ติดตั้งพัดลม ให้มีลมพัดผ่านมูลโดยตรงและมีการกลับกองมูลบ่อยขึ้น เป็นต้น
 
     จากข้อมูล ไก่จำนวน 1,000 ตัวจะขับถ่ายมูลสดออกมาจำนวน 420 ตัน/ปี เมื่อทำให้ แห้ง (มีความชื้นประมาณ 25-30%) จะเหลือน้ำหนักมูลเพียง 137 ตันเท่านั้นที่จะต้องขนส่งออกไปจากฟาร์ม จะเห็นได้ว่า ถ้าเราทำมูลให้แห้งแล้วจะสามารถลดปริมาณมูลลงได้จนเหลือเพียง 1 ใน 3 ของน้ำหนักเริ่มต้น หรือเราจะสามารถลดจำนวนรถบรรทุกลงได้จาก 20 คันเหลือเพียง 7 คันเท่านั้น จึงทำให้ประหยัดค่าขนส่งลง ได้
 
      มีการนำมูลไก่มาใช้เป็นปุ๋ยสำหรับพืชมานานแล้ว ซึ่งมูลไก่เป็นแหล่งที่ดีของอินทรียวัตถุและธาตุ อาหารสำหรับพืช อย่างไรก็ตาม ปัญหาของการใช้มูลไก่ ได้แก่ ปริมาณธาตุอาหารในมูลไก่แต่ละฝูง แต่ละ โรงเรือนไม่คงที่ จึงเป็นการยากที่เกษตรกรจะใช้ในพืชแล้วพืชจะได้รับธาตุอาหารที่ถูกต้องแม่นยำตามที่ ต้องการ ปริมาณธาตุอาหารในมูลหรือในวัสดุรองพื้นจะผันแปรไปได้เนื่องจากชนิดของไก่ สูตรอาหารที่ให้ไก่กิน
วิธีการเลี้ยงดูแลและจัดการมูล เป็นต้น
 
      เหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกิดความผันแปรของปริมาณธาตุอาหารในมูล ได้แก่ ความชื้นที่ต่างกัน มูลสด อาจจะมีน้ำหรือความชื้นมากกว่า 70% เมื่อมูลนั้นแห้งลงไม่เฉพาะแต่ความเข้มข้นของธาตุอาหารต่อหน่วย น้ำหนักเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงแต่ความเข้มข้นต่อหน่วยปริมาตรก็เปลี่ยนแปลงด้วย เนื่องจากมีการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของมูลด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับมูลสด มูลแห้งที่มีความชื้นประมาณ 30% จะมีปริมาตร ลดลงประมาณ 50% จากปริมาตรมูลสด
การท าให้มูลไก่แห้ง มี 2 วิธีใหญ่ ๆ ได้แก่
Smartlink
 
 
1. การทำแห้งโดยใช้อุปกรณ์ช่วย บางฟาร์มใช้อุปกรณ์ช่วยในการทำแห้งเพื่อให้ได้มูลไก่ไปทำเป็นปุ๋ย ที่มีคุณภาพดี สามารถลดปริมาตรและน้ำหนักมูลลงและสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการย่อยสลายโดยแบคทีเรีย อันจะทำให้เกิดกลิ่นเหม็นได้ เครื่องทำแห้ง (Dryer) ที่มีจำหน่ายในปัจจุบันจะใช้อุณหภูมิตั้งแต่ 371-982 °ซ (700-1,800 °ซ) ระยะเวลาในการทำแห้งจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่ใช้ ปริมาณความชื้นในมูล อัตราการไหลผ่านของมูลและความชื้นสุดท้ายของมูลที่เราต้องการ เครื่องทำแห้งทั่วไปสามารถลดความชื้นในมูลจาก 70% ให้ เหลือเพียง 10% ได้ภายในเวลาเพียง 10 นาที
 
2. การทำแห้งโดยธรรมชาติ โดยการใช้แสงแดดช่วย นิยมใช้ในพื้นที่ที่มีฝนตกน้อย การเลี้ยงไก่ไข่ขัง กรงและมีการเก็บกวาดมูลทุกวัน นำมูลมาเกลี่ยบนพื้นที่มีลดพัดผ่านได้ดี ซึ่งถ้ามีแดดและลมพัดดีจะสามารถ ลดความชื้นในมูลจาก 75% ให้ลงเหลือเพียง 20% ภายในเวลา 2 วันเท่านั้น ถ้าทำให้แห้งเร็วปริมาณธาตุ ไนโตรเจนที่มีอยู่ในมูลก็จะยังคงเหลือมาก กรงไก่ไข่ที่ใช้ในปัจจุบัน บางรุ่นจะมีสายพานลำเลียงมูลวางอยู่ใต้พื้น กรงและจะมีพัดลมเป่าด้วยเพื่อช่วยให้มูลแห้งเร็วขึ้น
Smartfarm
การใช้ประโยชน์จากมูลไก่
การทำปุ๋ยหมักจากมูลไก่ (Composting manure)
       การย่อยสลายที่เกิดขึ้นโดยจุลินทรีย์ที่ใช้อากาศเป็นกระบวนการตามธรรมชาติ ทำให้เกิดก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำและความร้อน หลังจากการย่อยสลายที่สมบูรณ์แล้วจะได้วัตถุที่มีลักษณะคล้ายดิน มี ฮิวมัส (Humus) เป็นส่วนประกอบสูง ในระหว่างที่กระบวนการย่อยสลายดำเนินอยู่นั้นจะเกิดการย่อยสลาย ไนโตรเจนเป็นก๊าซแอมโนเนียระเหยขึ้นไปในชั้นบรรยากาศ ดังนั้น ภายหลังจากการย่อยสลายที่สมบูรณ์แล้ว ปริมาณธาตุไนโตรเจนในมูลก็จะลดลงและมักจะเกิดปัญหาเกี่ยวกับกลิ่นแอมโมเนียในระหว่างกระบวนการย่อย สลาย ปุ๋ยหมักสามารถทำจากมูลไก่ที่เลี้ยงแบบขังกรงหรือเลี้ยงบนวัสดุรอง ของเสียจากโรงฟัก เปลือกไข่และ ซากไก่ตาย ซึ่งสามารถที่จะเปลี่ยนจากของเสียไปเป็นผลพลอยได้มีสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้
ขั้นตอนการทำปุ๋ยหมักประกอบด้วย
1.ผสมเศษเหลือหรือของเสียจากฟาร์มด้วยวัสดุที่มีคาร์บอน (ฟางข้าว ซังข้าวโพด ฯลฯ) ให้เข้ากันใน อัตราส่วนของแหล่งคาร์บอน : ไนโตรเจน เท่ากับ 20-25 : 1 ดังนั้น มูลสัตว์อย่างเดียวก็อาจจะทำเป็นปุ๋ยหมัก ได้ถ้าหากมีอัตราส่วนของคาร์บอน : ไนโตเจน เหมาะสม
2.เติมอากาศเข้าไป
3.ราดน้ำเพื่อเพิ่มความชื้นให้ได้ประมาณ 35-50%
4.ตรวจสอบอุณหภูมิภายในกองหมัก ในช่วงแรกอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นสูงมาก เนื่องจากเกิดกระบวนการ ย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ซึ่งจะใช้เวลาหลายสัปดาห์ ถ้ากระบวนการย่อยสลายสมบูรณ์แล้วอุณหภูมิภายในกอง ปุ๋ยหมักจะคงที่ไม่เพิ่มอุณหภูมิขึ้นทั้งในขณะเก็บรักษาและขณะใช้งาน
 
ธาตุอาหารในมูลไก่
ปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในมูลไก่จะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่
1. ส่วนประกอบทางโภชนะของอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่
2. อายุและประเภทของไก่
3. วิธีการเก็บและการจัดการมูล
4. สภาพแวดล้อมทั่วไปภายในโรงเรือน เช่น อุณหภูมิ ความชื้น อุปกรณ์ให้น้ำ ซึ่งจะส่งผลต่อความชื้น ในมูล
 
      คุณภาพของมูลไก่ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับปริมาณความชื้น ยิ่งทำให้มูลแห้งเร็วเท่าไรปริมาณธาตุอาหาร ก็จะยังคงมีอยู่สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งธาตุไนโตรเจนซึ่งจะระเหยไปในรูปของก๊าชแอมโนเนียได้ง่ายถ้ามีความชื้น และมีการทำงานของจุลินทรีย์ เมื่อคำนวณปริมาณธาตุอาหารในมูลพบว่าจะมีสัดส่วนจะผกผันกับปริมาณ ความชื้น ดังแสดงในตารางที่ 3.2 ตัวอย่าง มูลแห้งที่มีความชื้นต่ำกว่า 35% จะมีธาตุไนโตรเจนอยู่ประมาณ 60 กิโลกรัม/ตัน ในขณะที่เมื่อมูลมีความชื้น 35-55% จะมีไนโตรเจนประมาณ 20 กิโลกรัม/ตัน และถ้ามูล เปียกมีความชื้นมากกว่า 55% ก็จะมีปริมาณธาตุไนโตรเจนอยู่เพียง 12 กิโลกรัม/ตัน เท่านั้น ดังนั้นถ้า เกษตรกรต้องการจะให้ธาตุไนโตรเจนแก่พืชที่กำลังเพาะปลูกจำนวน 30 กิโลกรมในพื้นที่ จะต้องใช้มูลไก่เปียก ประมาณ 2.4 ตัน แต่ถ้าใช้มูลแห้งก็จะใช้เพียง 1 ตัน เท่านั้น
 
ค่าการวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารพืชในมูลไก่ไข่ในกรงที่มีความชื้นต่างกัน ความชื้น (%) ไนโตรเจน (%)ฟอสฟอรัส * โปแตสเซียม * เกลือทั้งหมด P (%) P (%) 2O5(%) K (%) K2O (%) มูลสด (75%) 1.13 0.74 1.70 0.63 0.76 3.86 มูลชื้น (35%) 2.36 1.31 3.01 0.98 1.18 4.94 มูลแห้ง (10%) 3.84 2.01 4.62 1.42 1.70 6.18 * P2O5 = P x 2.3 ; K2O = K x 12
ที่มา : Bell (1971 ; อ้างตามใน Bell and Weaver (2002)
 
Smartlink
การใช้มูลไก่เป็นอาหารสัตว์
      มูลไก่นอกจากจะนำไปใช้เป็นปุ๋ยสำหรับให้ธาตุอาหารแก่พืชแล้ว ยังมีการนำมูลไก่ไปเป็นอาหารสัตว์ เคี้ยวเอื้องด้วย เนื่องจากในมูลไก่จะยังคงเหลือส่วนประกอบของวัตถุดิบบางชนิดที่ยังย่อยและดูดซึมไม่หมด
เช่น สารประกอบกลุ่มไนโตเจนที่ไม่ใช่โปรตีน (Non-protein nitrogen) ดังนั้น จึงสามารถนำมูลไก่กลับมาใช้ เป็นอาหารสัตว์ได้โดยสามารถใช้เป็นอาหารในโคที่ไม่ให้น้ำนมได้ แต่ใช้ในกลุ่มสัตว์กระเพาะเดี่ยวจะไม่ดี เนื่องจากมีโปรตีนแท้เหลืออยู่ค่อนข้างต่ำและมีปริมาณเถ้าสูงจึงไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ 
 
    เนื่องจากการ เจริญเติบโตจะลดลงและจำเป็นจะต้องเสริมอาหารโปรตีนคุณภาพสูง อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะนำมูลไก่ไปใช้ จะต้องมีการตรวจสอบก่อนว่าไม่มีสิ่งแปลกปลอมที่จะเป็นอันตรายต่อสัตว์ปะปนมาด้วย ดังนั้น การจะนำมูลไก่ มาใช้เป็นอาหารสัตว์นั้นจะต้องมีการวางแผนและการจัดการที่ดีเพื่อให้ได้มูลไก่ที่มีปริมาณโภชนะสูงและไม่มี การปนเปื้อนสิ่งแปลกปลอมและสารเคมีตกค้างทั้งยาฆ่าแมลง ยาปฏิชีวนะและยากำจัดวัชพืช เศษโลหะ เศษ หิน หรือเศษแก้ว ฯลฯ
ตารางที่ 3.3 ส่วนประกอบทางเคมี/โภชนะในมูลไก่
โภชนะ เปอร์เซ็นต์
ความชื้น 7.4
โปรตีน 23.8
โปรตีนแท้ 10.8
ไขมันรวม 2.1
แป้ง 39.6
เยื่อใย 13.7
เถ้า 26.9
แคลเซียม 7.8
ที่มา : Bell and Weaver (2002)
 
ปัญหาที่มักพบบ่อยเกี่ยวกับมูล
มูลเปียก (Wet dropping) ปัญหามูลเปียกเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ได้แก่
1. ถ้าอาหารมีโปรตีนและเกลือสูงก็จะทำให้ไก่ขับถ่ายมูลออกมาเหลวกว่า
2. สายพันธุ์ไก่ พบว่า ไก่ไข่ที่ให้ไข่ดกจะขับถ่ายมูลเหลวกว่าไก่ที่ไข่ไม่ดก
3. อุณหภูมิสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรือน ถ้าอุณหภูมิสูงจะทำให้ไก่กินน้ำมากขึ้นเพื่อช่วย ระบายความร้อนออกจากร่างกายยิ่งส่งผลให้ขับถ่ายมูลออกมาเหลวด้วย
4. น้ำรั่วจากอุปกรณ์ให้น้ำเป็นการเพิ่มความชื้นเข้าไปโดยตรง การตรวจสอบการรั่วของน้ำนั้นทำได้ยาก กว่าที่ผู้เลี้ยงจะทราบก็อาจจะสายเกินไป จึงจำเป็นต้องใช้มิเตอร์วัดปริมาตรน้ำที่ใช้ในแต่ละวันถ้า พบความผิดปกติของการใช้น้ำให้รีบตรวจสอบทันทีปัจจุบันยังมีการพัฒนาเซ็นเซอร์ติดตั้งอุปกรณ์ให้น้ำถ้ามี ปริมาณการใช้น้ำมากกว่าค่ามารฐานกำหนดไว้ก็จะมีการเตือนให้ผู้เลี้ยงไปตรวจสอบความผิดปกติ
 
Smartlink
กลิ่น (Odor) มูลไก่มีธาตุไนโตรเจนอยู่สูง
     ดังนั้น ถ้ามูลไก่มีความชื้นก็จะทำให้จุลินทรีย์ทำปฏิกิริยาได้ง่ายขึ้นจึงปลดปล่อยก๊าซแอมโมเนียออกมา ซึ่งก๊าซแอมโนเมียนี้นอกจากจะส่งกลิ่นเหม็นรบกวนแล้วยังมีฤทธิ์ กัดกร่อนวัสดุพวกโลหะอีกด้วย
 
การกำจัดซากไก่ตาย
     ในระหว่างการเลี้ยงไก่มักจะมีการตายเกิดขึ้นเกือบทุกวันซึ่งการตายของไก่จะแบ่งออกเป็น การตาย ปกติที่ไม่เกิดจากโรค การตายจากอุบัติเหตุและการตายจากการเกิดโรคหรือไก่คัดทิ้ง เป็นต้น หลักการจัดการไก่ซากตายมีขั้นตอนดังนี้
 
1. ต้องเก็บไก่ตายและนำออกจากกรงหรือโรงเรือนทุกวัน
2. ต้องเก็บไก่ตายไว้ในภาชนะที่ปิดมิดชิดเพื่อป้องกันมิให้สัมผัสกับสัตว์พาหะ เช่น แมลงวัน แมลงปีก แข็ง สุนัข แมวและนกป่า เป็นต้น
3. ต้องนำซากไปเก็บหรือนำไปกำจัดในพื้นที่ที่แยกออกต่างหากซึ่งอยู่ห่างจากพื้นที่เลี้ยงไก่พอสมควร
4. หลังจากเก็บซากไก่ตายไปใส่ภาชนะหรือนำออกไปจากโรงเรือนแล้ว ผู้ปฏิบัติงานจะต้องล้างมือ ล้างอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สัมผัสกับไก่ให้สะอาดและฆ่าเชื้อ สำหรับพนักงานให้เปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่เป็นชุดที่สะอาด ก่อนเริ่มปฏิบัติงานใหม่
5. บุคคลที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับซากไก่ตายหรือพาหนะที่บรรทุกไก่ตายออกไปทิ้งหรือกำจัดจะไม่ อนุญาตให้กลับเข้ามาในพื้นที่เลี้ยงไก่อีกเด็ดขาด ยกเว้น จะต้องผ่านกระบวนการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ แล้วเท่านั้น
 
     ระบบการกำจัดซากไก่ตายจะต้องทำไว้ให้สามารถกำจัดซากไก่ได้เพียงพอ อย่างน้อยที่สุดก็ในกรณีที่มี การตายอยู่ในระดับปกติและจะต้องเผื่อไว้อีกเล็กน้อยกรณีที่มีอัตราการตายเพิ่มขึ้นซึ่งสามารถใช้ค่าในตารางที่ 3.4 เป็นพื้นฐานในการคำนวณได้
ตารางที่ 3.4 ปริมาณซากไก่ตายที่อัตราการตายแตกต่างกัน (กิโลกรัม) (เปอร์เซ็นต์ไก่ตาย x น้ำหนักตัวเฉลี่ย x 1,000 ตัว)
ต่อ 10,000 ตัว อัตราการตาย (%)
0.10%/สัปดาห์ 0.25%/สัปดาห์ 0.50%/สัปดาห์
 
ไก่ไข่ (Layers)
– เปลือกไข่สีขาว (1.8 กก.) 2.6 6.5 13.0
– เปลือกไข่สีน้ำตาล (2.3 กก.) 3.2 8.1 16.2 ไก่ไข่รุ่นทดแทน (Replacement pullets)
– เปลือกไข่สีขาว (1.4 กก.) 2.0 4.9 9.7
– เปลือกไข่สีน้ำตาล (1.6 กก.) 2.3 5.7 11.4 ไก่กระทง (Broilers)
– น้ำหนัก 2.3 กก. 3.2 8.1 16.2
– น้ำหนัก 2.7 กก. 3.9 9.8 19.5 ที่มา : Bell and Weaver (2002)
 
วิธีการกำจัดซากไก่ตาย
      การกำจัดซากไก่ตายมีหลายวิธีแต่ละวิธีมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ดังแสดงในตารางที่ 3.5 วิธีการ กำจัดซากแต่ละวิธี มีการดำเนินการดังนี้
 
Smartlink
1. การฝัง (Burial) 
       เป็นวิธีดั้งเดิมที่นิยมใช้กันในอดีตและปัจจุบันยังใช้กันอยู่ในฟาร์มเลี้ยงไก่ขนาด เล็ก แต่ในกรณีที่เป็นฟาร์มขนาดใหญ่การกำจัดซากแบบนี้จะไม่เหมาะสมซึ่งอาจจะมีคำถามว่าซากไก่ที่ฝังนั้น อาจจะทำให้น้ำใต้ดินปนเปื้อนได้ เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนและก่อให้เกิดแมลงที่สร้างความรำคาญ การฝังจะต้อง ฝังในระดับลึกพอสมควร เช่น ควรขุดหลุมให้มีขนาดความกว้างประมาณ 76-120 เซนติเมตร และลึกประมาณ
9-12 เมตร หลุมฝังซากจะต้องอยู่ห่างจากแหล่งน้ำและจะต้องขุดไม่ให้ถึงระดับน้ำใต้ดินเพื่อป้องกันการ ปนเปื้อนไปกับน้ำใต้ดิน

2. การทิ้งในบ่อทิ้งซาก (Disposal pits) 
     บ่อทิ้งซากเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการฝังหลุม บ่อทิ้งซาก ปกติมักจะทำให้มีความลึกประมาณ 3 เมตรและมีฝาปิดซึ่งอาจจะทำด้วยไม้หรือทำด้วยคอนกรีตเพื่อป้องกัน แมลงวันและสัตว์พาหะ การทิ้งซากแบบนี้จะช่วยให้แบคทีเรียย่อยสลายซากไก่ได้อย่างรวดเร็ว การย่อยสลาย จะเร็วขึ้นถ้าหากมีการสับซากไก่ตายให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ก่อนทิ้งลงบ่อทิ้งซาก การทำบ่อทิ้งซากจะต้องให้อยู่ในที่ ดอน น้ำท่วมไม่ถึง อยู่ห่างจากบ้านพักอาศัยไม่น้อยกว่า 60 เมตร ห่างจากแหล่งน้ำ บ่อน้ำหรืออ่างเก็บน้ำไม่ น้อยกว่า 90 เมตร และจะต้องอยู่ห่างจากโรงเรือนเลี้ยงไก่ไม่น้อยกว่า 8 เมตร ขนาดของบ่อทิ้งซากจะต้อง คำนวณให้เหมาะสมกับอัตราการตายของไก่ในฟาร์ม โดยปกติขั้นต่ าจะคำนวณไว้ประมาณ 1.4 ลูกบาศก์เมตร/ การตายของไก่จำนวน 1,000 ตัว/ปี
 
3. การเผา (Incineration) 
      เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการกำจัดซากไก่ตายแต่อาจจะต้องถูกตรวจสอบ จากหน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่นเสียก่อน เนื่องจากอาจจะก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศได้ การเผาเป็นมาตรการ หนึ่งในระบบการป้องกันภัยทางชีวภาพและไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ ไม่เป็นที่ดึงดูดสัตว์พาหะและเถ้าที่เหลือ ก็กำจัดได้ง่าย แต่การกำจัดซากแบบนี้มีข้อเสีย คือ กำจัดซากได้ช้าและใช้ต้นทุนในการดำเนินงานสูง ถ้าเตาเผา ซากอยู่ในตำแหน่งไม่เหมาะสม เช่น อยู่เหนือลมอาจจะมีการร้องเรียนเรื่องกลิ่นรบกวนของชุมชนที่อยู่ใต้ลมได้
 
4. การนำไปกำจัดหรือการนำไปแปรรูปเพื่อใช้ประโยชน์ (Rendering) 
      ซากไก่ที่ตายเนื่องจาก อัตราการตายปกติ คือ ไม่ได้ตายเนื่องจากการติดเชื้อโรคสามารถนำซากไก่ไปใช้ประโยชน์เป็นผลพลอยได้จาก สัตว์ (Animal by-product) และใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ซึ่งจะทำให้ลดปัญหาในการกำจัดซากลงได้และเป็น การสร้างมูลค่าเพิ่มได้ เช่น การนำไปเป็นอาหารเลี้ยงจระเข้ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการสุขาภิบาลและ การจัดการซากไก่ตายอย่างเป็นระบบและเหมาะสม ฟาร์มบางแห่งจะมีการสร้างห้องเย็นหรือห้องแช่แข็ง สำหรับเก็บซากไก่ตายเพื่อรอการจำหน่ายโดยเฉพาะ
 
Smartlink
5. การทำปุ๋ยหมัก (Composting) 
       การนำซากไก่ตายไปทำเป็นปุ๋ยหมักนิยมทำกันมากในการเลี้ยงไก่ กระทง ถ้ามีการจัดการที่ถูกต้องจะเป็นวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับกลิ่นและ มลพิษทางน้ำ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความอุดมสมบูรณ์ของดินอีกด้วย
 
ขั้นตอนการทำปุ๋ยหมักจากซากไก่ตาย มีขั้นตอนดังนี้
1. บดซากไก่ตายและทำการคลุกเคล้าชิ้นส่วนที่มีขนาดใหญ่กับขนาดเล็กให้เข้ากัน
2. ควบคุมความชื้นให้เหมาะสม คือประมาณ 60% ถ้าความชื้นในกองปุ๋ยหมักมากกว่านี้จะ ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็น แต่ถ้าความชื้นต่ำกว่านี้จะทำให้กระบวนการย่อยสลายช้าลง
3. สัดส่วนของคาร์บอน : ไนโตรเจน จะต้องเหมาะสม เพื่อให้การเจริญของแบคทีเรียและเชื้อ ราดีที่สุด สัดส่วนที่เหมาะสมจะต้องอยู่ในช่วง 20-25 : 1 โดยการรักษาสัดส่วนของซากไก่ตายและแหล่งของ คาร์บอนโดยใช้ฟางข้าว ซังข้าวโพด ใบไม้หรือหญ้า ฯลฯ
4. อุณหภูมิที่เหมาะสม ในกระบวนการหมักและย่อยสลายโดยจุลินทรีย์จะต้องมีอุณหภูมิอยู่ ระหว่าง 54-66 °ซ ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 83 °ซ หรือ ต่ำกว่า 49 °ซ จะทำให้คุณภาพปุ๋ยหมักไม่ดี
 
การเตรียมส่วนผสมและการจัดวางซากไก่ตาย แหล่งคาร์บอน และน้ำ จะต้องจัดวางเป็นชั้น ๆ โดย เริ่มจากมูลไก่ แหล่งคาร์บอน (ฟางข้าวหรือซังข้าวโพด ฯลฯ) ซากไก่ตาย ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ การวางแต่ละ ชั้นจะต้องไม่ให้หนาเกิน 6-8 นิ้ว หรือ 15-20 เซนติเมตร หรือเหนาเท่ากับความหนาของตัวไก่ที่วางนอน โดย กำหนดสัดส่วนดังนี้
– ซากไก่ตาย 1.0 ส่วน โดยน้ำหนัก
– มูลไก่ 1.5 ส่วน
– ฟางข้าว/ซังข้าวโพด (แหล่งคาร์บอน) 0.1 ส่วน
– น้ำ 0.2 ส่วน
ในบางกรณีการเพิ่มน้ำเข้าไปอาจจะไม่จำเป็นเนื่องจากความชื้นที่มากเกินไปอาจจะทำให้เกิดกลิ่น เหม็นและเป็นมลพิษทางอากาศได้
ตารางที่ 3.5 เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของการกำจัดซากไก่ตายโดยวิธีต่าง ๆ
 
วิธีการ ข้อดี ข้อเสีย
การฝัง (Disposal pit)
 
– ประหยัดค่าใช้จ่ายและมีกลิ่นรบกวน น้อย การเผา (Incineration)
– ไม่ปนเปื้อนน้ำใต้ดินและไม่ติดต่อไปยังไก่ ตัวอื่น ถ้าระบบการเผามีประสิทธิภาพ
– เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคและ จะต้องมีการระบายน้ำดี
– ต้องคำนึงถึงการปนเปื้อนเชื้อ โรค กลิ่นไปสู่น้ำใต้ดิน
– ค่าใช้จ่ายสูงและอาจทำให้เกิด มลพิษทางอากาศ
– มีเศษเหลือน้อย
– ต้องแน่ใจว่าขนาดและประสิทธิภาพของเตาเผา เพียงพอต่อความต้องการใช้ของ ฟาร์ม
– จะต้องเผาซากไก่ให้ไหม้อย่าง สมบูรณ์จนเถ้าเป็นสีขาว
 Smartfarm
ทำปุ๋ยหมัก (Composting)
– ทำให้มี รายได้เพิ่มขึ้นถ้ามีการวาง แผนการผลิตและมีตลาดรองรับ
– ถ้ากระบวนการทำปุ๋ยหมักถูกต้องจะไม่มี การปนเปื้อนเชื้อโรคไปสู่ดินและอากาศ
– ไม่มีข้อมูล การนำไปกำจัด/แปรรูป (Rendering)
– ไม่มีการกำจัดซากไก่ตายภายในบริเวณ ฟาร์ม
– ลงทุนต่ำ
– การปนเปื้อนเชื้อโรคไปสู่สิ่งแวดล้อมต่ำ
– ซากไก่สามารถนำกลับไปเป็นวัตถุดิบ อาหารสัตว์ชนิดอื่นได้
– ต้องมีตู้แช่แข็งเพื่อเก็บซากไก่ – ต้องมีระบบการป้องกันภัยทาง ชีวภาพอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกัน ไม่ให้เชื้อโรคจากโรงงานกำจัด ติดต่อมายังฟาร์ม
 
ที่มา : Arber Acres; Broiler Management Hand Book (2014)
สรุปขั้นตอนการทำความสะอาดโรงเรือนเลี้ยงไก่
1. ปลดไก่
2. เก็บอุปกรณ์
3. ขนวัสดุรองพื้น
4. ปัดกวาดหยากไย่ โดยปัดกวาดจากส่วนที่สูงที่สุดลงมา เช่น หลังคา เพดาน ตาข่าย
5. ล้างโรงเรือน โดยล้างจากส่วนที่สูงที่สุดลงมา เช่น หลังคา เพดาน ตาข่าย พัดลม อุปกรณ์ต่าง ๆ พื้น และบริเวณรอบโรงเรือนด้วยปั๊มแรงดันสูง 200-400 ปอนด์/ตร.นิ้ว
6. ราดโซดาไฟบริเวณพื้นและทางเดินรอบโรงเรือน เพื่อทำลายไข่พยาธิ อัตราส่วน 3-5 กก./น้ า 100 ลิตร
7. พ่นยาฆ่าแมลงและยาฆ่าเชื้อ ฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณหลังคา เพดาน ตาข่าย ผนัง พื้นและบริเวณรอบ ๆ โรงเรือน
8. พ่นไฟ ปกติมักใช้กับฟาร์มเลี้ยงไก่พ่อแม่พันธุ์
9. ปิดผ้าม่าน ผ้าม่านต้องซักทำความสะอาด
10. พ่นยาฆ่าเชื้อ บริเวณหลังคา เพดาน ผนัง พื้นและบริเวณรอบ ๆ โรงเรือน
11. พ่นฟอร์มาลิน ขณะพื้นเปียกหมาด ๆ อากาศเย็นและไม่มีลม โรงเรือนปิดด้วยผ้าม่าน 12. โรยปูนขาวบนพื้นให้ทั่ว อัตราส่วน ปูนขาว 5 กก./พื้นที่ 80 ตร.เมตร
13. นำวัสดุรองพื้นเข้า
14. จัดกก/อุปกรณ์ อุปกรณ์จะต้องจุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อโรคก่อนนำเข้ามา
15. พ่นฟอร์มาลินบนวัสดุรองพื้น อัตราส่วน ฟอร์มาลิน 1 ลิตร/น้ำ 9 ลิตร
16. โรยปูนขาวรอบ ๆ ทางเดินและเตรียมอ่างจุ่มเท้า (น้ำยาฆ่าเชื้อ)
 
Posted in สาระน่ารู้

Related Posts

error: เนื้อหาได้รับการคุ้มครอง !!