การควบคุม ปัญหาขาพิการ ใน ไก่เนื้อ
การควบคุม ปัญหาขาพิการ ไก่เนื้อ ปัญหาขาพิการ เพิ่มขึ้นตามน้ําหนักไก่ และยังทําให้อัตราการตายสูงขึ้นได้อีกด้วย การควบคุม ปัญหาขาพิการ ต้อง ตรวจสอบคุณภาพพื้น และปรับการจัดการตามความเหมาะสม นอกจากนั้น อาจพิจารณาการเลือกใช้สายพันธุ์ไก่เนื้อที่มี
ปัญหาขาพิการนี้น้อย แม้ว่า โปรแกรมการคัดเลือกทางพันธุกรรมสายพันธุ์ไก่เพื่อควบคุมปัญหาขาพิการกําลังพยายามกัน อย่างหนัก แต่ไก่เนื้อบางสายพันธุ์ยังคงพบปัญหาขาพิการได้มากกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งผู้เลี้ยงสัตว์ปีกต้องพิจารณาตัดสินใจ เลือกให้เหมาะสมกับเป้าหมายการผลิตของตนเอง
ข้อแนะนํา และแนวทางการลดความเครียดจากความร้อนภายในฟาร์ม
สําหรับการเลี้ยง ไก่เนื้อ สมัยใหม่ที่ปรับปรุง สายพันธุ์ให้มีอัตราการเจริญเติบโต และประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหารที่ดีเยี่ยม แต่กลับเป็นปัจจัยโน้มนําให้เกิดความ ผิดปรกติทางสรีรวิทยาหลายประการ เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดปรกติ ท้องมาน เป็นต้น เมื่อไก่อายุเพิ่มขึ้น ปัจจัยด้านความเครียดชนิดใดก็สามารถกระตุ้นให้เกิดการตายเพิ่ทชึ้นได้การควบคุม
ความเครียดใน ไก่เนื้อ สามารถปฏิบัติได้เบื้องต้นดังนี้
1.เตรียมมาตรฐานด้านการจัดการสําหรับการเลี้ยงไก่เนื้อ และฝึกอบรมให้พนักงานเข้าใจ และสามารถปฏิบัติตาม ได้อย่างเคร่งครัด
2 ตรวจสอบให้มั่นใจว่า พื้นที่การเลี้ยงภายในโรงเรือน เพียงพอสําหรับสัตว์อยู่อาศัยอย่างสบาย รวมถึง พื้นที่การ ให้อาหาร และน้ํา
3.พยายามให้ไก่คุ้นเคยกับการปรากฏของมนุษย์ และเสียงจากกิจกรรมต่างๆ ภายในโรงเรือน เพื่อไม่ให้ตื่นตกใจ ง่ายจนเกินไป

4.ตรวจสอบระบบการให้อาหาร น้ํา และการระบายอากาศเป็นประจําทุกวัน เพื่อให้มั่นใจว่า ทํางานได้เป็นปรกติ พิจารณาให้วิตามินและเกลือแร่ที่ช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันของสัตว์ และลดความเครียดได้
5.ควบคุมโรคติดเชื้อ แม้ว่าไก่เนื้อที่อายุมากขึ้นแล้วจะมีภูมิคุ้มกันต้านทานต่อโรคได้พอสมควร แต่เมื่อเกิดโรคขึ้นก็ จะสร้างความเสียหายอย่างมาก โดยเฉพาะ หากเกิดปัจจัยแทรกซ้อนอื่นๆ รวมเข้าด้วยกัน ดังนั้น พยายามลดปัจจัยต่างๆ ที่อาจส่งผลลบต่อสถานภาพสุขภาพของไก่ได้
เพื่อลดการตายของไก่เนื้อในช่วงระยะท้าย ควรปฏิบัติตามข้อแนะนําเบื้องต้น
ดังนี้
1. ลูกไก่ที่มีคุณภาพดี จัดซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้
2. การลงเลี้ยงลูกไก่เนื้อพร้อมกัน อายุเท่ากัน และควรมาจากฟาร์มไก่พันธุ์ฝูงเดียวกัน
3. อุปกรณ์การให้อาหารและน้ํา คอยดูแลสะอาดอยู่เสมอ ปราศจากรา และสาหร่าย
4. มาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ ต้องเข้มงวดตลอดเวลาเพื่อป้องกันโรคระบาดในฟาร์ม
